tharenfrdeiditjakomsruvi

LOGOBIG COLOUR3

แผนพัฒนาสุขภาพ ระดับพื้นที่

 

แผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่ ทบทวนครั้งที่1/2567 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (ดาวน์โหลด)

แผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่ ประจำปี พ.ศ. 2566 - 2570 (ดาวน์โหลด)

 

แผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่เพิ่มเติม

แผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่ (พ.ศ.2566 - 2570) เพิ่มเติม ครั้งที่ 3/2567 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี (คลิกที่นี่)
แผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่ (พ.ศ.2566 - 2570) เพิ่มเติม ครั้งที่ 2/2567 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี (คลิกที่นี่)
แผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่ (พ.ศ.2566 - 2570) เพิ่มเติม ครั้งที่ 1/2567 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี (คลิกที่นี่)
 

  

แผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่เปลี่ยนแปลง

แผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่ (พ.ศ.2566 - 2570) เปลี่ยนแปลง ครั้งที่ 3/2567 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี (คลิกที่นี่)
แผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่ (พ.ศ.2566 - 2570) เปลี่ยนแปลง ครั้งที่ 2/2567 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี (คลิกที่นี่)
แผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่ (พ.ศ.2566 - 2570) เปลี่ยนแปลง ครั้งที่ 1/2567 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี (คลิกที่นี่)

 

 

 

 

 

 

banner place 01
แผนที่ท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์
ราชานุเสาวรีย์

พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

                          ตั้งอยู่กลางวงเวียนเทพสตรีใกล้ศาลากลางจังหวัดลพบุรีบริเวณหัวถนนนารายณ์มหาราชก่อนเข้าสู่ย่านตัวเมือง พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นรูปปั้นในท่าประทับยืนผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบ ก้าวพระบาทซ้ายออกมาข้างหน้าเล็กน้อย

                         พลังศรัทธาของชาวลพบุรีที่ให้ความเคารพบูชาสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นอย่างมาก เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์ปราสาททององค์สุดท้ายจึงร่วมกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชขึ้นเป็นรูปปั้นท่าประทับยืนผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงดาบก้าวพระบาทซ้ายออกมาข้างหน้าเล็กน้อยที่ฐานจารึกข้อความว่า "สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์ไทยผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง ทรงพระราชสมภพ ณ กรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2175 สวรรคต ณ เมืองลพบุรี เมื่อ พ.ศ. 2231 พระองค์ทรงมีพระบรมราชกฤษดาภินิหารเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชตั้งอยู่กลางวงเวียนเทพสตรี หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า 'วงเวียนพระนารายณ์มหาราช' นักท่องเที่ยวที่มาเยือนลพบุรีควรไปเยือนสักครั้งในชีวิต ระหว่างวันที่ 16-22 กุมภาพันธ์ ของทุกปี จังหวัดลพบุรีมีการจัดงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ และเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้จัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติ ณ บริเวณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์

สามยอด

 พระปรางค์สามยอด

ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี บนเนินดินด้านตะวันตกของทางรถไฟ ใกล้กับศาลพระกาฬ เป็นปราสาทศิลาแลงแบบขอมเรียงต่อกัน 3 องค์ เชื่อมต่อกันด้วยมุขกระสัน ภายในบริเวณนอกจากปราสาททั้ง 3 องค์นี้แล้ว ทางด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธานมีการต่อเติมวิหารก่ออิฐถือปูนเชื่อมต่อกับปราสาทประธาน เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เป็นโบราณสถานและ แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลพบุรี ลักษณะเป็นปราสาทขอมในศิลปะบายน (พ.ศ. 1720 - 1773) โครงสร้างเป็นศิลาแลงประดับปูนปั้น สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ครองราชย์ พ.ศ. 1724 - ประมาณ 1757) เพื่อเป็นพุทธสถานในลัทธิวัชรยานประจำเมืองละโว้หรือลพบุรี ซึ่งในขณะนั้นเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรเขมร แต่เดิมภายในปราสาทประธานประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกทรงเครื่อง ปราสาททิศใต้ประดิษฐานรูปพระโลเกศวร (พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร) สี่กร และปราสาททิศเหนือประดิษฐานรูปพระนางปรัชญาปารมิตาสองกร

บ้านพระนารายณ์

พระนารายณ์ราชนิเวศน์       

ตั้งอยู่ในเขตตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี โดยชาวเมืองลพบุรีเรียกกันติดปากว่า "วังนารายณ์" ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เป็นวังที่สมเด็จพระนารายณ์เป็นพระราชวังที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2209 บนพื้นที่ 41 ไร่ ณ เมืองลพบุรี เพื่อใช้เป็นที่ประทับ ล่าสัตว์ ออกว่าราชการ และต้อนรับแขกเมือง พระองค์ทรงประทับ ณ พระราชวังแห่งนี้ประมาณ 8-9 เดือนในช่วงปลายรัชกาลและเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรค์ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231 ภายหลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระนารายณ์ราชนิเวศน์ถูกทิ้งร้าง จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดให้บูรณะพระราชวังของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2399 และพระราชทานนามว่า "พระนารายณ์ราชนิเวศน์

บ้านวิชาเยนทร์ 1

บ้านวิชาเยนทร์

บ้านวิชาเยนทร์ หรือ บ้านหลวงรับราชทูต ตั้งอยู่ทางเหนือของวังนารายณ์ราชนิเวศน์ และวัดเสาธงทอง ทางตะวันตกใกล้กับวัดปืน และทางตะวันออกใกล้กับเทวสถานปรางค์แขก สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2228 เพื่อใช้รับรองราชทูตชาวตะวันตกที่มาเฝ้าฯ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาสมเด็จพระนารายณ์ได้พระราชทานที่พักอาศัยนี้ให้แก่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ สมุหนายกชาวตะวันตกในราชสำนักสยาม ณ เวลานั้น บ้านหลวงรับราชทูตแบ่งได้ 3 ส่วน ด้านตะวันออกเป็นบ้านพักของคณะทูตชาวฝรั่งเศส ส่วนด้านตะวันตกเป็นบ้านพักของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ขุนนางชาวกรีก และท้าวทองกีบม้า ภรรยา ส่วนกลางเป็นที่ตั้งของโบสถ์ของคริสต์ศาสนา ที่สถาปัตยกรรมเป็นแบบเรอเนสซองส์ ผสมสถาปัตยกรรมไทย แห่งแรกของไทย และของโลก

ศาลพระกาฬ 1

ศาลพระกาฬ

ศาลพระกาฬ หรือเดิมเรียกว่า ศาลสูง เป็นโบราณสถานและศาสนสถานที่ตั้งอยู่กลางวงเวียนชื่อ วงเวียนศรีสุนทร บนถนนนารายณ์มหาราช ในเขตตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระปรางค์สามยอด และเส้นทางรถไฟสายเหนือ ภายในเป็นที่ประดิษฐาน เจ้าพ่อพระกาฬ เทวรูปโบราณยุคขอมเรืองอำนาจเนื่องจากศาลตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงที่อยู่สูงจากพื้นดิน เป็นศาสนสถานที่เป็นฐานศิลาแลงขนาดมหึมา สันนิษฐานกันว่าฐานศิลาแลงดังกล่าวเป็นฐานพระปรางค์ที่ยังสร้างไม่เสร็จ หรือสร้างสำเร็จแต่พังถล่มลงมาภายหลังโดยมิได้รับการซ่อมแซมให้ดีดังเดิม ศาลพระกาฬเป็นสิ่งก่อสร้างของขอม สืบเนื่องมาจากเมืองลพบุรีในอดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของขอมโบราณ ซึ่งได้กลายเป็นศูนย์กลางการปกครองของขอมในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อย่างไรก็ตามฌ็อง บวสเซอลิเยร์ ได้สันนิษฐานจากฐานพระปรางค์ที่สูงมากนี้ ว่าเขายังมิได้ข้อยุติว่าเป็นสถาปัตยกรรมขอมโบราณพุทธศตวรรษที่ 16 "อาจเป็นฐานพระปรางค์จริงที่สร้างไม่เสร็จ หรือเสร็จแล้วแต่พังทลายลงมาทั้งนี้มีที่ศาลสูงมีการค้นพบศิลาจารึกศาลสูงภาษาเขมร หลักที่ 1 และศิลาจารึกเสาแปดเหลี่ยม (จารึกหลักที่ 18) อักษรหลังปัลลาวะภาษามอญโบราณ จากกรณีจารึกเสาแปดเหลี่ยมที่หักพังนั้น พบว่าเสานี้ถูกทุบทำลายให้ล้มพังอยู่กับที่มิได้เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น จึงสันนิษฐานว่าศาลพระกาฬอาจเคยเป็นศาสนสถานของนิกายเถรวาทมาก่อน ภายหลังถูกดัดแปลงเป็นเทวสถานในนิกายไวษณพของศาสนาฮินดูแทน

 วัดพระศรี 1

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นวัดอารามใน ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ตั้งอยู่ตรงข้ามกับสถานีรถไฟลพบุรี สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่มีการปรับปรุงซ่อมแซมหลายครั้งทั้งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระราเมศวร และสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ องค์ประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุยังปรากฏบนผลงานภาพจิตรกรรมฯ 8 จอมเจดีย์แห่งสยาม ณ วัดเบญจมบพิตร อีกด้วยองค์ประกอบภายในวัดพระปรางค์ประธานทรงขอม วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

วัดพระศรี 1

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์

              อยู่ในบริเวณพระนารายณ์ราชนิเวศน์ จัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุ และนิทรรศการ ตามอาคารต่าง ๆ ในบริเวณพระนารายนณ์ราชนิเวศน์ เช่น พระที่นั่งพิมานมงกุฎ พระที่นั่งจันทรพิศาลและหมู่ตึกพระประเทียบเดิมทีที่นี่มีชื่อว่า "ลพบุรีพิพิธภัณฑสถาน" เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ แห่งที่ 3 ของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2466 และได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประจำปี 2545 รางวัลดีเด่นประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม จัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุ และนิทรรศการต่าง ๆ แบ่งอาคารจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุเป็น 4 อาคาร คือ 1. พระที่นั่งพิมานมงกุฎ จัดแสดงหลักฐานโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณภาคกลางของประเทศไทยและแหล่งโบราณคดี จังหวัดลพบุรี โครงกระดูกมนุษย์ ภาชนะดินเผา เตาดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ทำจากโลหะ ภาชนะสำริด เครื่องประดับทำจากหินและเปลือกหอย เป็นต้น ภายในพระที่นั่งแบ่งเป็นห้องต่าง ๆ ได้แก่ - ห้องภาคกลางประเทศไทย พ.ศ. 800-1500 รับอิทธิพลของวัฒนธรรมอินเดียที่เรียกว่า สมัยทวารวดี จัดแสดงเรื่องการเมือง การตั้งถิ่นฐาน เทคโนโลยีและการดำเนินชีวิต อักษร ภาษา ศาสนสถาน ศาสนาและความเชื่อ หลักฐานที่จัดแสดง ได้แก่ พระพุทธรูป พระพิมพ์ดินเผา เหรียญตราประทับดินเผา จารึกภาษาบาลี สันสกฤต และรูปเคารพต่าง ๆ - ห้องอิทธิพลศิลปะเขมร-ลพบุรี จัดแสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15-18 โบราณคดีสมัยชนชาติขอมแผ่อิทธิพลเข้าปกครองเมืองลพบุรี และบริเวณภาคกลางของประเทศไทย เช่น ทับหลัง พระพุทธรูปปางนาคปรก พระพุทธรูปปางประทานอภัย เป็นต้น - ห้องประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย จัดแสดงศิลปกรรมที่พบตามภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12-18 ที่เป็นศิลปะแบบหริภุญไชย ศิลปะล้านนา ศิลปะสมัยลพบุรี เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระพิมพ์ และพระพุทธรูปสำริดสมัยต่าง ๆ เป็นต้น - ห้องประวัติศาสตร์ศิลปกรรมสมัยอยุธยา-รัตนโกสินทร์ ตั้งแต่พุทธสตวรรษที่ 18-24 ได้แก่ พระพุทธรูป เครื่องถ้วย เงินตรา อาวุธ เครื่องเงิน เครื่องทอง และชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมปูนปั้นและไม้แกะสลักต่าง ๆ - ห้องศิลปะร่วมสมัย จัดแสดงภาพเขียน และภาพพิมพ์ศิลปะร่วมสมัยของศิลปินไทย - ห้องประวัติศาสตร์ การเมือง สังคม วัฒนธรรม และพระราชประวัติของสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวัง ณ เมืองลพบุรี เมื่อ พ.ศ. 2399 ได้แก่ ภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ ฉลองพระองค์ เครื่องใช้ แท่นพระบรรทม เหรียญทอง และจานชามมีรูปมงกุฎซึ่งเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ เป็นต้น 2. พระที่นั่งจันทรพิศาล เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมแบบทรงไทย จัดแสดงเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง สังคม วัฒนธรรม และพระราชประวัติของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และห้องด้านหลังจัดแสดงงานประณีตศิลป์สมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ 3. หมู่ตึกพระประเทียบ (อาคารชีวิตไทยภาคกลาง) เป็นอาคารลักษณะสถาปัตยกรรมผสมแบบตะวันตก จัดแสดงเรื่องชีวิตไทยภาคกลาง การดำรงชีวิต ที่อยู่อาศัย เครื่องมือ เครื่องใช้ประกอบอาชีพประมง การเกษตร และศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านของคนไทยภาคกลาง โดยเฉพาะจังหวัดลพบุรีที่ใช้ในอดีตจนถึงปัจจุบัน 4. พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ จัดแสดงหนังใหญ่เรื่องรามเกียรติ์ซึ่งมาจากวัดตะเคียน ตำบลท้ายตลาด อำเภอเมืองลพบุรี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์ฯ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30น. เว้นวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท สอบถามข้อมูล โทร. 0 3641 1458

 ศาลลูกศร

ศาลหลักเมืองหรือศาลลูกศร

ตั้งอยู่ถนนสายริมน้ำหลังวัดปืนใหญ่ ใกล้กับบ้านวิชาเยนทร์ ตัวศาลาเป็นตึกเล็ก ๆ มีเนื้อที่ประมาณ 12 ตารางเมตร มีแท่งหินแท่งหนึ่งโผล่เหนือระดับพื้นดินขึ้นมา สูงประมาณ 1 เมตรหากมีพิธีกรรมทางศาสนาของชาวไทยเชื้อสายจีนในลพบุรีเมื่อใด บริเวณศาลหลักเมืองจะเต็มไปด้วยผู้คน ที่มีจิตใจอันเต็มเปี่ยมไปด้วยศรัทธามาร่วมตัวกันเพื่อใช้สถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองลพบุรีแห่งนี้ เป็นที่ประกอบพิธีอยู่เสมอ โดยภายในศาลเป็นที่ประดิษฐานของหลักเมือง ลักษณะเป็นแท่งหินโผล่ เหนือระดับพื้นดินขึ้นมา ความสูงประมาณ 1 เมตร และแช่น้ำไว้ตลอดเวลาเชื่อกันว่าเมื่อใดที่น้ำรอบแท่งหินแห้งไป จะเกิดไฟไหม้ในลพบุรี นอกจากนี้ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงนิพนธ์เกี่ยวกับหลักเมืองดังกล่าวไว้ในตำนานเมืองลพบุรีว่า "หลักเมืองลพบุรี อยู่ทางตลาดข้างเหนือวังเรียกกันว่า ศรพระราม" "ที่เรียกกันว่า ศรพระรามนั้นเกิดแต่เอาเรื่องรามเกียรติ์มาสมมุติเป็นตำนานของเมืองนี้ คือ เมื่อเสร็จศึกทศกัณฐ์ พระรามกลับไปครองเมืองอยุธยาแล้วจะสร้างเมืองประทานตรงนั้น ลูกศรพระรามไปตกบนภูเขาบันดาลให้ยอดเขานั้นราบลง" "ครั้นเสร็จแล้วพระรามจึงประทานนามว่า เมืองลพบุรี ด้วยเหตุนี้จึงอ้างกันมาก่อนว่า หลักเมืองนั้นคือลูกศรพระรามที่กลายเป็นหิน" จะด้วยความเชื่อความศรัทธาหรือธรรมเนียมที่ปฏิบัติตามกันมาก็ตาม นักท่องเที่ยวควรหาเวลามากราบไหว้เพื่อความเป็นสิริมงคล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 3677 0096-7

ปรางแขก
เทวสถานปรางค์แขก

       เทวสถานปรางค์แขก หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ปรางค์แขก เป็นโบราณสถานอยู่ในเขตตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ปัจจุบันตั้งอยู่บนเกาะกลางถนนบริเวณแยกถนนวิชาเยนทร์กับถนนสุระสงคราม ถือเป็นปราสาทขอมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดลพบุรี
ประวัติ
      ในยุคปัจจุบันนักวิชาการบางท่านได้สันนิษฐานว่าปรางค์แขกถูกสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 15 บ้างก็ว่าสร้างตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ที่นี่จึงเป็นปราสาทขอมที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดลพบุรี และภาคกลาง ทั้งนี้มิทราบว่าใครเป็นผู้ริเริ่มในการสร้างปรางค์แขก โดยอาจสร้างขึ้นตามพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ หรือสร้างจากการอุปถัมภ์ของผู้นำท้องถิ่น
องค์ประกอบ
       ตัวเทวสถานประกอบด้วยปราสาทอิฐ 3 องค์ เรียงตัวกันในแนวเหนือใต้หันหน้าไปทางทิศตะวันออกตามธรรมเนียมที่พบในกัมพูชา องค์กลางมีขนาดใหญ่กว่าองค์อื่น ๆ มีประตูทางเข้าเพียงประตูเดียวในแต่ละปรางค์ ส่วนอีกสามประตูเป็นประตูหลอก และไม่มีฉนวนเชื่อมดังพระปรางค์สามยอดแต่เดิมก่อด้วยอิฐไม่สอปูนและคาดว่าคงพังทลายลง ช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนปลายในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงมีการปฏิสังขรปรางค์ทั้งสามองค์ขึ้นใหม่ในรูปแบบถืออิฐสอปูนแต่ละก้อนเชื่อมด้วยยางไม้ และสร้างอาคารอีกสองหลังขึ้นเพิ่มเติม โดยอาคารแรกเป็นวิหารทางด้านหน้า ส่วนอาคารอีกหลังทางทิศใต้สร้างเป็นถังเก็บน้ำประปา และอาคารทั้งสองเป็นศิลปะไทยผสมยุโรปตามพระราชนิยม โดยประตูทางเข้ามีลักษณะโค้งแหลม ต่อมาเมื่อเทวสถานปรางค์แขกชำรุดทรุดโทรมลง กรมศิลปากรจึงเข้าไปทำการบูรณะเพิ่มเติมและเทคอนกรีตเสริมฐานราก
พระที่นั่งไกรสร

พระที่นั่งไกรสรสีหราช

          พระที่นั่งไกรสรสีหราช หรือ พระที่นั่งเย็น หรือ พระตำหนักทะเลชุบศร อยู่ภายในซอยพระที่นั่งเย็น บนทางหลวงหมายเลข 3016 เข้ามาจากถนนพหลโยธินประมาณ 500 เมตร หรือห่างจากพระปรางค์สามยอด 5 กิโลเมตร เป็นคือสถานที่ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์ทรงให้สร้างเพื่อสำราญพระราชอิริยาบถ พูดภาษาชาวบ้านว่ามาพักผ่อนหย่อนใจ ตามประวัติศาสตร์มีหลักฐานยืนยันว่าพระองค์ใช้ที่นี่เป็นที่ศึกษาจันทรุปราคาเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2228 ร่วมกับบาทหลวงเยซูอิตและบุคคลในคณะทูตซึ่งพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสส่งมาเจริญสัมพันธไมตรี และยังทรงทอดพระเนตรสุริยุปราคาเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2231 จึงเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์แห่งวงการดาราศาสตร์ บันทึกของทางฝรั่งเศสระบุว่าบริเวณพระที่นั่งเย็นสามารถเห็นท้องฟ้าโดยรอบชัดเจนทุกด้าน มีภาพวาดจำลองการทอดพระเนตรจันทรุปราคาด้วย เป็นฝีมือจิตรกรฝรั่งเศส

          : เปิดทุกวัน 8.30-16.00 น.  ปกติค่าเข้าชม 10 บาท แต่ปัจจุบันกรมศิลปากรมีนโยบายยกเว้นค่าเข้าชมสำหรับชาวไทยจนกว่าจะมีการประกาศอีกครั้ง

 วัดยาง ณ รังสี

วัดยาง ณ รังสี และพิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้าน

            ตั้งอยู่หมู่ 2 ตำบลตะลุง ริมฝั่งแม่น้ำลพบุรีด้านตะวันตก เดิมเรียกว่า วัดพญายาง เนื่องจากภายในบริเวณวัดมีต้นยางยักษ์ต้นหนึ่งตระหง่านเป็นสัญลักษณ์ท่ามกลางดงต้นยาง เดิมชื่อวัดยางศรีสุธรรมาราม แล้วเปลี่ยนเป็นวัดยาง ณ รังสี จนถึงปัจจุบัน

            พิพิธภัณฑ์เรือพื้นบ้านแห่งแรกของประเทศไทยตั้งอยู่ภายในวัดยาง ณ รังสี บริเวณศาลาการเปรียญ (หลังเก่า) จัดแสดงเรือพื้นบ้านที่เคยเป็นพาหนะทางน้ำของชาวเมืองลพบุรีกว่า 60 ลำ อาทิ เรือหมู เรือบด เรือกระแชง เรือชะล่า เรือผีหลอก เรือพายม้า เรือมาด เรือสำปั้นหรือสามปั้น เรือเข็มหรือเรือโอ่ เรือยาว เรืออีโปง เรือเอี้ยมจุ๊น ฯลฯ เรือบางชนิดก็ยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน ที่น่าสนใจคือบรรดาเรือหาดูยาก เช่น เรือมาด เรือยาวลำใหญ่ ซึ่งเป็นเรือในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชอยู่ 1 ลำ ส่วนเรือที่หาดูได้ยากที่สุดในประเทศไทย คือ เรือเข็ม, เรือหางเหยี่ยว, เรือชะล่า และเรืออีโปง เป็นต้น คุณค่าของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ยังอยู่ที่ศาลาการเปรียญ (หลังเก่า) ซึ่งเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์เพราะเป็นศาลาการเปรียญไม้ทรงไทย สร้างตั้งแต่ปี 2470 พื้นที่หน้าจั่วด้านหน้าและด้านหลังของศาลาแกะสลักไม้ลายนูนปิดทองประดับกระจกเป็นรูปเทพารักษ์นั่งในซุ้มลายทองสลักเป็นรูปเทพพนมประกอบลายก้านขดมีเครื่องประดับหลังคาเป็นช่อฟ้านาคเลื้อยบันไดด้านทิศใต้และทิศตะวันตกลงศาลาท่าน้ำหลังจากเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์แล้วอย่าลืมเข้าไปดูประติมากรรมหินทรายประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถของวัดยาง ณ รังสี

วัดสันเปาโล

วัดสันเปาโล

       ตั้งอยู่บนถนนร่วมมิตร ทางเข้าวิทยาลัยนาฏศิลป์ลพบุรี เป็นวัดของพวกบาทหลวงเยซูอิต สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ กล่าวว่า วัดสันเปาโลเป็นวัดในคริสต์ศาสนา สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช คำว่า "สันเปาโล" นี้เพี้ยนมาจากคำว่า เซนต์ปอล หรือ แซงต์เปาโล (Saint Paulo) โดยชาวบ้านมักจะเรียกกันว่า ตึกสันเปาหล่อลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบไทยผสมยุโรปคล้ายกับบ้านวิชาเยนทร์ เชื่อกันว่าสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ทำพิธีทางศาสนาและมีหอดูดาวซึ่งเป็นหอคอยทรงแปดเหลี่ยมไว้ใช้สังเกตการณ์ดาราศาสตร์แห่งแรกในกรุงสยามมีบันทึกของบาทหลวงตาชาร์ดกล่าวถึงวัดแห่งนี้ว่า สมเด็จพระนารายณ์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างตามแบบหอดูดาวที่ฝรั่งเศสและได้พบว่าหอดูดาวที่ปารีส ซึ่งสร้างในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มีการวางผังอาคารที่คล้ายคลึงกันจึงเป็นไปได้ที่อาคารทั้งสองแห่งนี้มีความสัมพันธ์กัน แม้ปัจจุบันจะเหลือเพียงซากของหอดูดาวแปดเหลี่ยม แต่ก็ยังเหลือร่องรอยให้พอนึกภาพตามได้ นอกจากนี้ยังพบฐานของอาคารที่สันนิษฐานว่าเป็นที่พักและโบสถ์ของฝรั่งแต่อาจจะยังสร้างไม่เสร็จ เมื่อมีการเปลี่ยนแผ่นดินเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายด้านวัดแห่งนี้ก็ถูกทิ้งร้างเหลือเพียงซากปรักหักผังตามที่เห็น

วัดมณีชลขัน

วัดมณีชลขัณฑ์

       อีกหนึ่งวัดโบราณที่มีมานานหลายชั่วอายุคนจากหลักฐานที่หลงเหลืออยู่สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเดิมชื่อ วัดเกาะแก้ว เพราะตั้งอยู่กลางแม่น้ำลพบุรีจนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดมณีชลขันฑ์ทำเลที่ตั้งยังทำให้วัดนี้เปรียบดังประตูเมืองลพบุรี เพราะเป็นทางสายตรงสายเดียวระหว่างลพบุรีและสิงห์บุรี ใครมาเยือนต่างต้องไปชมเจดีย์ที่ก่อเป็นรูปเหลี่ยมสูงชะลูดหรือพระพุทธรูปปางนาคปรกอันแสนงดงามอีกทั้งต้นศรีมหาโพธิ์ พระอุโบสถ พระวิหาร และพระพุทธรูปใหญ่ริมน้ำภายในวัดยังมีการจัดแสดงจารึกบนแผ่นไม้บุษบกธรรมาสน์ วัดมณีชลขัณฑ์ กล่าวถึงประวัติการสร้างบุษบกธรรมาสน์หลังนี้ ด้วยความที่มีมรดกทางวัฒนธรรมมากมายทางกรมศิลปากรจึงประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน นอกจากนี้หากอยากมาชมความคึกคักช่วงเทศกาลเดือนสิบสองทางวัดมีการจัดแข่งเรือและงานเทศกาลลอยกระทงทุกปี

วัดตองปุ

       วัดตองปุ

                อยู่หลังโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย ตำบลทะเลชุบศร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสำคัญวัดหนึ่ง ในอดีตเคยเป็นที่ชุมนุมกองทัพไทย ในวัดตองปุนี้มีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่นผู้มีจิตศรัทธาไม่น้อยเดินทางมาที่วัดตองปูเพื่อปฎิบัติธรรมด้วยความงดงามของสถาปัตยกรรมภายในวัด และความสงบร่มเย็นจึงเหมาะที่จะมาหามุมสงบฝึกจิตพิจารณาใจ แต่นักเดินทางบางส่วนก็แวะเวียนมาเพื่อชมโบราณวัตถุที่เหลืออยู่เพียงชิ้นเดียวในเมืองไทย คือ ที่สรงน้ำพระโบราณ โดยวัดตองปูจัดเป็นวัดโบราณที่เป็นศาสนาสถานสมัยอยุธยาซึ่งยังคงมีความสมบูรณ์ศิลปกรรมที่พบเห็นภายในวัดส่วนหนึ่งมีรูปแบบของกลุ่มชนมอญและลาว เช่น หลักไม้จำหลักเก็บพระคัมภีร์ในพระอุโบสถลายรดน้ำที่บานประตูพระวิหาร พระอุโบสถ พระวิหาร ฐานมีลักษณะเป็นฐานปัทม์ หย่อนท้องช้าง ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลาทราย นาคปรกปางสมาธิศิลปะสมัยลพบุรี อายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ใบเสมาหินคู่ ศาลาการเปรียญมีฐานแอ่นโค้งเจาะช่องหน้าต่างโค้งแหลม หลังคามุงด้วยกระเบื้องกาบกล้วย หอระฆัง เป็นสถาปัตยกรรมทรงปราสาทห้ายอดวิหาร อันเป็นศิลปะสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช คือ หน้าต่างและประตูเป็นช่องโค้งแหลม นอกจากนี้ยังมีเจดีย์คล้ายกับเจดีย์หลวงพ่อแสงวัดมณีชลขัณฑ์ วัดมณีชลขัณฑ์ แต่มีขนาดเล็กกว่ารวมไปถึงมีศาลาพระศรีอาริย์ พระพุทธรูปนาคปรกศิลาทรายศิลปะสมัยลพบุรีประดิษฐานภายในพระวิหารและพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาให้ได้ชมและสักการะเพื่อเป็นสิริมงคล

วัดไลย์

วัดไลย์

                อยู่ริมน้ำบางขาม ในเขตตำบลเขาสมอคอน สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเคยเสด็จไปวัดนี้ และทรงกล่าวไว้ในพระนิพนธ์เรื่องเที่ยวตามทางรถไฟไว้ว่า "วัดไลย์อยู่ริมน้ำบางขาม พ้นเขาสมอคอนไปทางตะวันตกไม่ห่างนัก เป็นวัดเก่าชั้นแรกตั้งกรุงศรีอยุธยา

หากจะกล่าวว่า วัดไลย์ เป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์พอ ๆ กับมีคุณค่าทางจิตใจแก่ชาวลพบุรีก็คงจะไม่ผิดนัก เนื่องด้วยอายุอานามของวัดที่เก่าแก่ เป็นวัดเก่าตั้งแต่สมัยการก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ มีลายภาพของเก่าปั้นเรื่องทศชาติและเรื่องปฐมโพธิ์ อันงดงาม และเป็นสถานที่ประดิษฐานพระศรีอาริย์ จนกระทั่งเกิดไฟไหม้พระวิหารพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้อัญเชิญพระศรีอาริย์ลงมาปฏิสังขรณ์ที่กรุงเทพฯ ปัจจุบันได้ก่อสร้างวิหารสำหรับ ประดิษฐานพระศรีอาริย์ขึ้นมาใหม่ด้านหน้าเป็นรูปมณฑลจัตุรมุขแลดูสง่างาม ภายในวัดยังมีมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของเมืองลพบุรีให้ชมอีกมากมาย เช่น พระวิหาร สถาปัตยกรรมแบบอยุธยาตอนต้น ที่มีประธานขนาดใหญ่ปางมารวิชัย ซุ้มเรือนแก้วแบบพระพุทธชินราช ภาพปูนปั้นเรื่องทศชาติและเรื่องปฐมสมโพธิ นอกจากนี้ยังมีพระอุโบสถ วิหารรูปมณฑปยอดปรางค์ และพิพิธภัณฑ์ประจำวัด ซึ่งมีของเก่ามากมายให้ได้ชม เช่น พระพุทธรูป เครื่องหมาย เครื่องลายคราม เครื่องมือ เครื่องใช้สมัยโบราณ เป็นต้น เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบประวัติศาสตร์และชิ้นงานโบราณคดี นอกจากนี้ ทุกวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 วัดไลย์จะมีประเพณีชักพระศรีอาริย์ทางสถลมารค โดยมีการจัดขบวนอัญเชิญพระศรีอาริย์ขึ้นบุษบกและช่วยกันชักลากแห่ไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ ส่วนตอนกลางคืนมีมหรสพสมโภชตลอดงาน

วัดเขาพระงาม

วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร(วัดเขาพระงาม)

                ตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดลพบุรีไปทางทิศเหนือตามถนนพหลโยธินไปประมาณ 12 กิโลเมตร อยู่ในเขตตำบลเขาพระงาม วัดเขาพระงามนี้เดิมเป็นวัดร้าง สร้างมาแต่เมื่อใดไม่มีปรากฏ ต่อมาในปี พ.ศ. 2455

วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร หรือที่ชาวลพบุรีเรียกว่า วัดเขาพระงาม เนื่องจากภายในวัดแห่งนี้บริเวณเชิงเขาโอบล้อมด้วยผืนป่าเขียวขจีถือเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของจังหวัดลพบุรี มีพื้นที่กว้างขวางถึง 99 ไร่ เดิมเป็นวัดร้างมานานจนสืบไม่ทราบประวัติ หากแต่พบหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุปรากฏภายในบริเวณวัดมากมาย เช่น พระพุทธไสยาสน์ ที่สร้างด้วยศิลาแลงแบบโบราณซากฐานพระสถูปเจดีย์เก่าบนยอดเขาและซากกำแพงเก่าที่ปรากฏบริเวณเชิงเขาซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างมาตั้งแต่ในราวปี พ.ศ. 1100 เลยทีเดียว ภายในวัดมีปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือรอยพระพุทธบาทจำลอง หล่อด้วยปูนซีเมนต์ตั้งอยู่บนหลังเขาพระพุทธรูปองค์ใหญ่ชื่อว่า พระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาลสร้างด้วยศิลปะงดงามประณีตบรรจงโดดเด่นจนสามารถมองเห็นได้ในระยะไกลก่อนเข้าไปสู่บริเวณวัดตลอดจนพระสังกัจจายน์หล่อด้วยปูนซีเมนต์ หน้าตักกว้าง 11 ศอก 1 คืบ สูง 3 วา พระประธานภายในพระอุโบสถ ชื่อว่า พระพุทธเพ็ชรรัตน์สุวัทนามัยมหามุนีชินสีห์วิสุทธิโสภาคย์ หล่อด้วยทองเหลือง หน้าตักกว้าง 3 ศอก 2 นิ้วฟุต สูง 3 ศอก 1 คืบ 4 นิ้วฟุตและรูปท่านเจ้าคุณเทพวรคุณ (อดีตเจ้าอาวาสวัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร) ประดิษฐานที่วิหารภังคานนท์บรรยากาศวัดมีความร่มรื่นและเหมาะแก่การนั่งวิปัสสนากรรมฐานทำให้ปัจจุบันเป็นสถานที่ที่ได้รับความนิยมจากประชาชนจากทั่วทุกสารทิศ

วัดเขาสมโภชน์

วัดเขาสมโภชน์

                วัดเขาสมโภชน์ตั้งอยู่ที่บ้านเตาขนมจีน หมู่ที่ 5 ตำบลบัวชุม อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี มีที่ดินตั้งวัด 200 ไร่ บริเวณที่ตั้งมีภูเขาล้อมรอบ 3ด้าน ที่ดินวัดแบ่งเป็น2ส่วน อยู่บนภูเขาและที่ราบเชิงภูเขา การสร้างวัดได้สร้างขึ้นเป็นวัดตั้งแต่ พ.ศ 2480 พื้นที่ภูเขาซึ่งล้อมรอบบริเวณวัดทั้ง 3 ด้านมีถ้ำอยู่มาก มีชื่อเรียกแตกต่างกัน มีเจดีย์ขนาดแตกต่างหลายองค์ ภายหลังได้ร้างไป เมื่อ พ.ศ. 2516 หลวงพ่อคง จตฺตมโล ได้ธุดงค์จาริกมาเพื่อการปฏิบัติธรรมโดยอาศัยอยู่ในถ้ำพระอรหันต์ ตามนิมิต ซึ่งในขณะนั้น ชาวบ้านเรียกกันว่า สำนักสงฆ์ถ้ำเขาสมโภชน์ ต่อมาวันที่23 กันยายน พ.ศ 2525 ทางคณะสงฆ์ได้ประกาศให้เป็นวัดเขาสมโภชน์ โดยมีหลวงพ่อคง จตฺตมโล เป็นพระวิปัสสนาจารย์ และประธานสงฆ์ มีพระครูภาวนาวิสุทธิ (ผิว วณณฺคุตโต) ดำรงค์ตำแหน่งรักษาการแทนเจ้าอาวาส ที่เชิงเขาเป็นที่ตั้งของวัดสำหรับปฏิบัติธรรม ภูเขาแห่งนี้เต็มไปด้วยถ้ำต่างๆ ที่มีความสวยงามตามธรรมชาติอยู่เป็นจำนวนมากกว่า 19 ถ้ำ เฉพาะถ้ำที่ปรากฏชื่อมีดังนี้คือ ถ้ำใหญ่ ถ้ำเจดีย์ ถ้ำเพชร ถ้ำรำวง ถ้ำสิงโต ถ้ำบ่อทิพย์ ฯลฯ ภายในแต่ละถ้ำจะแลเห็นหินงอกหินย้อยที่สวยงาม

วัดกัทลีพนาราม

วัดกัทลีพนาราม (วัดบ้านกล้วย)

                    วัดกัทลีพนาราม (วัดบ้านกล้วย) อยู่ห่างจากตลาดอำเภอบ้านหมี่ ประมาณ 2 กิโลเมตร เดิมชื่อว่า วัดบ้านกล้วย ต่อมาเปลี่ยนเชื่อเป็น '"วัดกัทลีพนาราม"' สร้างขึ้นปี พ.ศ. 2360 มีเนื้อที่ 23 ไร่ 1 งาน 16 ตารางวา เป็นวัดสำคัญของชุมชนชาวไทยพวน สิ่งที่น่าสนใจ ของวัดนี้คือ พระอุโบสถขนาดใหญ่แบบจตุรมุขที่สวยงาม มีวิหารเก่าแก่หลังเล็กและเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองรูปทรง งดงามมาก ศาลาการเปรียญมีลวดลายฉลุไม้ตกแต่งสวยงาม ภายในมีธรรมาสน์เก่าประดับเครื่องพุทธบูชาแบบของ ชาวไทยพวนคือ "ธงแว่น"

วัดค้างคาว

วัดธรรมิการาม(วัดค้างคาว)

                    ตั้งอยู่ริมลำน้ำบางขามฝั่งตะวันตก ตำบลบางขาม เหตุที่ชื่อวัดค้างคาวเพราะว่าเดิมมีค้างคาวอาศัยอยู่มาก ปัจจุบันไม่มีแล้วและได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "วัดธรรมิการาม"

เดิมทีชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า วัดค้างคาว เพราะสมัยก่อนมีค้างคาวมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ปัจจุบันกลับไม่มีหลงเหลือให้ได้เห็นจึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดธรรมิการาม ด้วยทำเลที่อยู่ชิดริมฝั่งคลอง สงบ ร่มรื่น จึงใช้เป็นสถานที่ฝึกและปฏิบัติอบรมพระพุทธศาสนาให้แก่นักเรียนและนักศึกษาภายในวัดยังหลงเหลือศาสนาสถานเก่าแก่ให้มากมาย เช่น พระอุโบสถหลังเก่าที่มีประวัติการสร้างมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ เหนือกรอบประตูและหน้าต่างทั้งสี่ด้าน บอกเล่าเรื่องราวพุทธประวัติยังมีงานจิตรกรรมฝาผนัง อีกแห่งภายในพระวิหารเล่าเรื่องทศชาติโดยมีชื่อแต่ละพระชาติกำกับคือ เตมีย์ชาดก มหาชนกชาดก สุวรรณสามชาดก เนมิราชชาดก มโหสถชาดก ภูมริทัตชาดก จันทกุมารชาดก พระพรหมนารทชาดก พระวิธูรชาดก และพระเวสสันดรชาดก จิตรกรรมทั้งสองแห่งอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ โดยรูปแบบจิตรกรรมเป็นแบบ "หลวง" สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นภาพในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว-รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

วัดเขาสมอคอน

วัดเขาสมอคอน

                     อยู่ในเขตตำบลเขาสมอคอน ไปตามเส้นทางสายลพบุรี-สิงห์บุรี ถึงกิโลเมตรที่ 18 เลี้ยวขวาเข้าไปอีก 12 กิโลเมตร เป็นเทือกเขาที่มีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ มีตำนานเก่าแก่เกี่ยวกับเขาสมอคอนอยู่หลายเรื่องที่น่าสนใจจากหนังสืออักขรานุกรมภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน กล่าวไว้ว่า

                    เขาสมอคอนเป็นเทือกเขาที่มีลักษณะเป็นภูเขาเตี้ย ๆ หลายลูก แต่ไม่ถึงกับติดกันเป็นเทือกเดียว เป็นเทือกเขาที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ตามตำนานได้พูดถึงเขาสมอคอนอยู่หลายเรื่องเฉกเช่น ที่ปรากฏในหนังสืออักขรานุกรมภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน กล่าวไว้ว่า " เขาสมอคอนนี้เป็นที่อยู่ของ สุกกทันตฤาษี อาจารย์ของพระเจ้ารามคำแหงมหาราชและพระยางำเมือง กษัตริย์เมืองพะเยาซึ่งน่าจะเป็นราชวงศ์หนองแส โยนก เชียงแสนทั้งสองพระองค์ เมื่อทรงพระเยาว์ได้เสด็จมาศึกษาศิลปวิทยาที่เขาสมอคอนนี้ ซึ่งสมัยนั้นกษัตริย์เมืองลพบุรีก็เป็นราชวงศ์เดียวกัน " เรื่องราวที่ยกมาข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของตำนานเล่าขานเท่านั้น สำหรับการมาเยือนที่นี่บางคนอาจมาเพื่อดูสถานที่ในตำนานให้เห็นกับตา ในขณะที่บางกลุ่มก็ชอบที่จะเดินขึ้นมาบนเทือกเขาเพื่อเที่ยวชมวัดสำคัญ 4 แห่ง ได้แก่ วัดบันไดสามแสน ภายในวัดมีพระอุโบสถเก่าและพระวิหารที่ด้านหน้าถ้ำ เป็นจุดชมวิวเมืองที่สวยมากใกล้ ๆ กันคือ วัดถ้ำตะโกพุทธโสภา เป็นวัดที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเคยเสด็จมาศึกษาศิลปวิทยาภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์ ศาลาทรงไทยและมีเจดีย์ทรงเรือสำเภาอยู่บนยอดเขา ถัดมาคือวัดถ้ำช้างเผือกชื่อวัดนั้นมาจากตำนานเล่าว่าเคยมีช้างเผือกอาศัยอยู่ในถ้ำ คุณจะสะดุดตากับรูปปั้นช้างเผือกขนาดใหญ่บนยอดเขาและวัดสุดท้าย คือวัดเขาสมอคอน ภาพจำของวัดนี้คือรูปปั้นหนุมานแบกภูเขาภายในวัดมีเจดีย์ทรงลังกาย่อมุมไม้สิบสองที่ทำบัวกลุ่มรองรับองค์ระฆัง มีโบสถ์และมณฑปที่สวยงาม นอกจากนี้ยังมีถ้ำเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ถ้ำพระนอน ด้านในมีพระพุทธไสยาสน์ประดิษฐานอยู่โดยนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปกราบนมัสการได้ตามสะดวก ภายในวัดถ้ำตะโกพุทธโสภาเป็นที่อยู่อาศัยของลิงจำนวนมากจึงควรระวังลิงขโมยหมวกหรือสิ่งของในกระเป๋าและอย่าแกล้งลิงหากไม่อยากโดนลิงทำร้าย

วัดเขาวงพระจันทร์

วัดเขาวงพระจันทร์

                      บริเวณเชิงเขาจะเป็นที่ตั้งของวัดเขาวงพระจันทร์ จะมีทางบันไดขึ้นไปสู่ยอดเขาประมาณ 3,790 ขั้น ยอดเขานี้สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 650 เมตร ถ้าวัดจากเชิงเขาถึงยอดเขาโดยแนวบันไดจะยาว 1,680 เมตร ใช้เวลาเดินทางจากเชิงเขาถึงยอดเขาประมาณ 2 ชั่วโมง สองข้างทางจะเต็มไปด้วยป่าไม้ขึ้นสลับซับซ้อนเต็มไปหมด บางแห่งจะเป็นที่ลาด บางแห่งจะเป็นที่ชัน เมื่อขึ้นไปถึงยอดเขาวงพระจันทร์จะมองเห็นทิวทัศน์เบื้องล่างได้ไกลสุดสายตา

                      เขาวงพระจันทร์ตั้งอยู่ในเขตอำเภอห้วยโป่ง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ห่างจากตัวเมืองลพบุรีไปประมาณ 28 กิโลเมตร เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดลพบุรี เหตุที่ชื่อเขาวงพระจันทร์ เพราะบริเวณเขาทั้งสี่ด้านเป็นรูปเขาโค้ง ไม่ว่ามองจากทางไหนก็จะเห็นเป็นวงโอบล้อมอยู่ จึงมีชื่อว่าเขาวงพระจันทร์ บริเวณเชิงเขาจะเป็นที่ตั้งของวัดเขาวงพระจันทร์ จะมีทางบันไดขึ้นไปสู่ยอดเขาประมาณ 3,790 ขั้น ยอดเขานี้สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 650 เมตร ถ้าวัดจากเชิงเขาถึงยอดเขาโดยแนวบันไดจะยาว 1,680 เมตร ใช้เวลาเดินทางจากเชิงเขาถึงยอดเขาประมาณ 2 ชั่วโมง สองข้างทางจะเต็มไปด้วยป่าไม้ขึ้นสลับซับซ้อนเต็มไปหมด บางแห่งจะเป็นที่ลาด บางแห่งจะเป็นที่ชัน เมื่อขึ้นไปถึงยอดเขาวงพระจันทร์จะมองเห็นทิวทัศน์เบื้องล่างได้ไกลสุดสายตา ในส่วนของวัดเขาวงพระจันทร์นั้นได้ชื่อว่าเป็นวัดที่มีสิ่งมหัศจรรย์ 9 ประการ ได้แก่ รอยพระพุทธบาทแท้ รอยที่ 4 รอยพระเขี้ยวแก้วพระพุทธเจ้าแท้ หลวงปู่ฟัก อายุ 93 ปี เจ้าอาวาสผู้ฉันมังสวิรัติและไม่อาบน้ำตลอดชีวิต พระบรมสารีริกธาตุ พิพิธภัณฑ์พันล้าน มีบันไดขึ้นเขาที่ยาวที่สุด มีต้นปลัดขิกธรรมชาติ มีควายสามเขาแห่งเดียวในโลก และมีงาช้างสีดำแห่งเดียวในโลก อีกทั้งในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี จะมีการจัดงานไหว้พระพุทธบาทประจำปี ผู้คนจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายจีนจะหลั่งไหลกันมานมัสการรอยพระพุทธบาทและพระพุทธรูป นับเป็นเทศกาลสำคัญของเมืองลพบุรี

บ้านโป่งมะนาว

พิพิธภัณฑ์เปิดบ้านโป่งมะนาว

                       พิพิธภัณฑ์เปิดบ้านโป่งมะนาว อยู่ที่หมู่ 7 ตำบลห้วยขุนราม อำเภอพัฒนานิคม อยู่ห่างจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 26.5 กิโลเมตร เป็นแหล่งโบราณคดีมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ 2,300-3,500 ปี ประมาณยุค "บ้านเชียงตอนปลาย" มีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณถึง 13 โครงกระดูกภายในหลุมเดียวกัน ฝังอยู่พร้อมเครื่องใช้และเครื่องประดับกระจายอยู่ทั่วบริเวณกว้าง จึงเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย
                    นอกจากนี้ชมรมอนุรักษ์แหล่งโบราณคดี และทรัพยากรธรรมชาติบ้านโป่งมะนาว ยังได้รับรางวัลยอดเยี่ยมในการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 6 ประจำปี 2549 เนื่องจากได้อบรมเยาวชนในท้องถิ่นให้เป็นยุวอาสาสมัคร ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเพื่อนำชมพิพิธภัณฑ์ ส่งผลให้เยาวชนมีความรู้เรื่องท้องถิ่นอย่างถ่องแท้และมีจิตสำนึกในการรักษา หวงแหนแผ่นดินเกิด และรางวัลแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมภาคกลางดีเด่น ประจำปี 2551 สำหรับนักเรียน/นักศึกษา/นักท่องเที่ยวที่มาเป็นหมู่คณะและต้องการวิทยากรบรรยายฟรี

ปรางค์นางผมหอม

ปรางค์นางผมหอม

                        อยู่ห่างจากตลาดหนองรีประมาณ 2 กิโลเมตร ในเขตบ้านโคกคลี ลักษณะของปรางค์นางผมหอมนี้ เป็นปรางค์องค์เดียวโดด ๆ ก่อด้วยอิฐไม่ถือปูน เช่นเดียวกับเทวสถานปรางค์แขก สภาพปัจจุบันยอดหักลงมาหมดแล้ว มีประตูเข้าภายในปรางค์ได้ ภายในปรางค์เป็นห้องโถง กรอบประตูสร้างด้วยแท่งหิน รอบ ๆ

ปรางค์นางผมหอม ปรางค์องค์เดียวที่ก่อด้วยอิฐไม่ถือปูน สันนิษฐานว่าปรางค์องค์นี้มีอายุราวพุธศตวรรษที่ 15-17 ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ปัจจุบันตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างแม่น้ำสองสายที่มาบรรจบกันคือ แม่น้ำลำสนธิและแม่น้ำลำพระยากลาง หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีตำนานเล่าขานว่า เป็นที่เก็บศพของนางผมหอม ราชธิดาของเจ้าเมืองทุกครั้งที่สระผมนางมักจะไปนั่งที่ก้อนหิน บริเวณที่ก้อนหินนั้นตั้งอยู่จึงถูกเรียกว่า ท่านางสระผม เมื่อผมของนางลอยไปตามน้ำ กษัตริย์อีกเมืองเก็บได้จึงเกิดความหลงใหลให้ทหารออกตามหาเจ้าของ แต่เมื่อทราบว่านางมีคู่หมั้นแล้วจึงได้ท้าพนันตีคลีกัน (สถานที่ตีคลีภายหลังได้ชื่อว่า โคกคลี) หากผู้ใดชนะจะได้นางไปครอบครองนางผมหอมเฝ้าดูการตีคลีด้วยความอัดอั้นตันใจ ในที่สุดจึงได้ผูกคอตายฝ่ายทั้งสองชายเมื่อทราบข่าวจึงชวนกันกระโดดน้ำตายด้วยความเสียใจจนกระทั่งวันนี้ แม้ว่ายอดของปรางค์ผมหอมจะหักโค่นลงมาหมดแล้ว แต่นักท่องเที่ยวก็ยังสามารถเข้าไปชมภายในปรางค์ ซึ่งเป็นห้องโถงได้อยู่โดยประตูทางเข้าสร้างด้วยแท่งหินบริเวณรอบปรางค์ยังมีหินก้อนใหญ่อยู่เกลื่อนกลาด และห่างจากปรางค์นางผมหอมไม่มากนักเป็นด่านกักสัตว์บ้านโคกคลี

เมืองโบราณซับจำปา

              เมืองโบราณซับจำปา           

                         ตั้งอยู่ที่ หมู่ 7 ตำบลซับจำปา อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี ปรากฏการตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จากการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดี เช่น กำไลหิน แกนกำไลหิน กระดูกมนุษย์ และภาชนะดินเผาก่อนประวัติศาสตร์ในรูปแบบต่าง ๆ

                         การมาเยือนยังเมืองโบราณซับจำปา ซึ่งเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดีนอกจากนักท่องเที่ยวจะได้สูดอากาศบริสุทธิ์จนเต็มปอดแล้วจะยังได้สัมผัสกับร่องรอยอารายธรรมอันเก่าแก่ของมนุษย์ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จากการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดี เช่น กระดูกมนุษย์ กำไลหิน แกนกำไลหิน และภาชนะดินเผา ซึ่งมีอายุประมาณ 3,000-2,500 ปี จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อกันว่าที่นี่เคยเป็นศูนย์กลางของศาสนามาก่อน เพราะมีการค้นพบประติมากรรมของพุทธศาสนานิกายต่าง ๆ เช่น พระพุทธรูปประทับเหนือพนัสบดี พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท ตลอดจนธรรมจักรและกวางหมอบอีกทั้งการค้นพบสินค้า ที่ติดตัวพ่อค้าหรือนักเดินทาง เช่น เครื่องรางของขลัง เงินตรา รวมถึงสินค้าต่าง ๆ ที่พ่อค้าชาวต่างชาตินำเข้ามา อันได้แก่ ขันสำริด ลูกปัด และชิ้นส่วนกำไลงาช้างจึงสันนิษฐานได้ว่าเมืองนี้เคยเป็นศูนย์กลางทางการค้าอีกด้วย

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
 
 น้ำตกสวนมะเดื่อ 1

น้ำตกสวนมะเดื่อ

          ต้องบอกตรงๆ แบบไม่มีโป้ปดเลยว่าน้ำตกสวนมะเดื่อเป็นน้ำตกในลำคลองธรรมชาติซึ่ง ณ ปัจจุบัน ยังไม่มีคุณสมบัติพอจะเรียกว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำหรับการดั้นด้นเดินทางมาเยี่ยมชม แต่ด้วยความที่ตั้งอยู่แทบจะริมถนนและไม่ต้องเสียเหงื่อสักหยดในการเดินเท้า หากใครผ่านทางมาแถวนี้ หรือขับรถมาเที่ยวชมแหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาวซึ่งอยู่ไม่ไกลกัน สามารถจอดรถแวะชมเอาเท้าแช่น้ำให้ชื่นใจ หรือหากอดใจกับน้ำใสๆ ไม่ไหวขอลงแช่ตัวเล่นน้ำสักหน่อยก็ไม่ว่ากัน

          ตัวน้ำตกสวนมะเดื่อแบ่งเป็นชั้นเล็กๆ ได้มากถึง 12 ชั้น ระยะทางรวมกันยาวประมาณ 1.5 กิโลเมตร เกิดจากตาน้ำผุดทางธรรมชาติไหลผ่านธารน้ำบนชั้นหินปูนทำให้สายน้ำใสแจ๋ว แต่ด้วยเพราะไม่มีการปรับพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว อีกทั้งขาดการดูแลเนื่องจากไม่มีใครมาเที่ยวชมมากนักนอกจากคนท้องถิ่นมาเล่นน้ำ ความน่าเที่ยวความน่าชมจึงหายไปอย่างช่วยไม่ได้

 51.ทุ่งทานตะวัน

ทุ่งทานตะวัน

ทุ่งทานตะวัน จังหวัดลพบุรี มีการปลูกทานตะวันมากที่สุดในประเทศไทย คือ ประมาณ 200,000 - 300,000 ไร่ ดอกทานตะวันจะบานสะพรั่งในช่วงเดือนพฤศจิกายน - มกราคม ทานตะวันเป็นพืชทนแล้ง เกษตรกรนิยมปลูกแทนข้าวโพด เมล็ดทานตะวันมีคุณค่าทางโภชนาการ นิยมใช้สกัดทำน้ำมันปรุงอาหาร หรืออบแห้ง เพื่อรับประทาน หรือใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง และยังสามารถเลี้ยงผึ้งเป็นอาชีพส่งเสริมได้อีกด้วย จึงทำให้ได้ผลผลิต คือ น้ำผึ้งจากดอกทานตะวันอีกทางหนึ่ง แหล่งปลูกทานตะวัน กระจายอยู่ทั่วไปในเขตอำเภอเมืองลพบุรี อำเภอพัฒนานิคม อำเภอชัยบาดาล พื้นที่ที่ปลูกเป็นจำนวนมาก ได้แก่ บริเวณเขาจีนแล ใกล้วัดเวฬุวัน ตำบลโคกตูม อำเภอเมืองลพบุรี

 วังก้านเหลือง 1

น้ำตกวังก้านเหลือง

ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลท่าดินดำ น้ำตกวังก้านเหลืองนี้ มีน้ำไหลตลอดทั้งปีแม้ว่าน้ำตกวังก้านเหลืองที่อยู่ภายในสวนรุกขชาติน้ำตกวังก้านเหลืองจะไม่ได้มีขนาดยิ่งใหญ่อลังการเท่าไหร่นัก หากแต่ในความเล็กกลับซ่อนปริศนาไว้มากมายจนกลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวที่ ได้แวะมาเยือนจังหวัดลพบุรี โดยจุดกำเนิดของน้ำตกวังก้านเหลืองเกิดจากน้ำที่ผุดขึ้นจากลำห้วยเล็ก ๆ หลายจุดส่งผลให้น้ำไหลคดเคี้ยวเป็นระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร และไปบรรจบรวมกันที่อ่างน้ำ จึงเรียกว่า "วังหว้าง" โดยบริเวณนั้นจะมีสันหินปูนขวางอยู่ น้ำที่เอ่อล้นจึงไหลลงไปปะทะกับหินปูน เกิดเป็นน้ำตกกว้าง 20 เมตร ลดหลั่นไปตามชั้นหินงดงามยิ่งนัก ความพิเศษอันเป็นจุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของน้ำตกวังก้านเหลืองแห่งนี้ คือมีน้ำไหลแรงตลอดปีทำให้สามารถเที่ยวได้ตลอดทุกฤดูกาล นอกจากนี้ตลอดทางเดินและบริเวณรอบ ๆ น้ำตกยังร่มรื่นไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ มีสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในจังหวัดลพบุรี ด้วยความยาวถึง 66 เมตร สำหรับใช้เป็นทางเดินข้ามน้ำตกระหว่างฝั่งอำเภอชัยบาดาลกับอำเภอท่าหลวง นอกจากนี้ ตลอดทางเดินไปน้ำตกยังรายล้อมไปด้วยร้านอาหารและร้านขายของที่ระลึกสำหรับรองรับความต้องการของนักท่องเที่ยว แม้กระทั่งอุปกรณ์ลงเล่นน้ำที่มีให้บริการอย่างครบครัน

 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา
 

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา

                          ตั้งอยู่ที่บ้านลังกาเชื่อม ตำบลสำสนธิ ตำบลกุดตาเพชร มีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 96,875 ไร่ เป็นที่ราบอยู่ในหุบเขา ถูกกั้นด้วยเทือกเขาพังเพย ทิศตะวันตกเป็นเขารวก สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 140-846 เมตร ความสำคัญของพื้นที่ คือ ป่าซับลังกามีสภาพสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำลำสนธิ และแหล่งอาหารของสัตว์ป่า ปัจจุบันยังมีเลียงผา ซึ่งเป็นสัตว์ป่าสงวนอาศัยอยู่ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ จัดไว้ 2 เส้นทาง

                          เตรียมพลังและเสบียงให้พร้อมก่อนออกไปเดินป่า ฝ่าความงดงามของธรรมชาติภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา บนพื้นที่กว่า 96,875 ไร่ ของป่าซับลังกาเป็นที่ราบในหุบเขาล้อมรอบไปด้วยเทือกเขาพังเพยและเทือกเขารวก และเป็นป่าผืนสุดท้ายของจังหวัดลพบุรีที่ค่อนข้างสมบูรณ์มีทั้งถ้ำ หน้าผา น้ำตก และป่าหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นป่าเต็งรัง ป่าเบญพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าไผ่ ปัจจุบันจึงกลายเป็นอีกจุดหมายของนักเดินป่าเพราะไม่ว่าคุณจะเลือกเดินป่าเส้นทางห้วยพริก-น้ำตกผาผึ้ง หรือเส้นทางห้วยประดู่-ถ้ำพระนอก-ถ้ำสมุยกุย ก็จะได้พบกับความงดงามที่ธรรมชาติรังสรรค์ไว้ โดยเฉพาะความงามอันแสนลึกลับของถ้ำผาผึ้ง ถ้ำผานอก หรือถ้ำสมุยกุย หรือจะแวะพักผ่อนหย่อนเท้าแช่น้ำที่ลำห้วยพริก น้ำตกผาผึ้งให้หายเหนื่อยแล้วค่อยเดินต่อก็ย่อมได้ สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมแก่การเที่ยวมากที่สุดคือปลายฝนต้นหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่ดอกกล้วยไม้รองเท้านารีจะพร้อมใจกันเบ่งบาน ต้อนรับนักท่องเที่ยวสำหรับผู้ที่จะเดินป่าควรเตรียมฟิตร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ก่อนออกเดินทาง รู้ก่อนเที่ยว เส้นทางเดินป่า ห้วยพริก-น้ำตกผาผึ้ง ระยะทางไป-กลับประมาณ 3.2 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาที เป็นเส้นทางที่เหมาะสำหรับนักเดินป่ามือใหม่ เส้นทางเดินป่า ห้วยประดู่-ถ้ำพระนอก-ถ้ำสมุยกุย ไป-กลับประมาณ 1.8 กิโลเมตร หรือระยะทางล่องแพไป-กลับประมาณ 1.4 กิโลเมตร ใช้เวลาสำหรับเส้นทางนี้ประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที เหมาะกับผู้ที่มีความชำนาญในการเดินป่า ควรเตรียมหมวก แว่นกันแดด รองเท้าผ้าใบ ไฟฉาย และยาประจำตัวให้พร้อมก่อนเดินป่า

 เขตห้ามล่าพันธุ์สัตว์ป่าเขาสมโภชน์

เขตห้ามล่าพันธุ์สัตว์ป่าเขาสมโภชน์

                            ตั้งอยู่ในท้องที่บางส่วนของ ตำบลซับตะเคียน ตำบลหนองยายโต๊ะ ตำบลบัวชุม และตำบลนาโสม มีเนื้อที่ประมาณ 8,440 ไร่ ได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าพันธุ์สัตว์ป่าเขาสมโภชน์ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2538

                           อาณาจักรกว้างใหญ่ของผืนป่าขนาด 8,440 ไร่ ได้รับการประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าพันธุ์สัตว์ป่าเขาสมโภชน์ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2538 ด้วยลักษณะที่เป็นเทือกเขาหินปูน สูงชันทอดตัวไปตามแนวทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีถ้ำและหน้าผาจำนวนมากมีที่ราบในหุบเขา 2 แห่ง และที่ราบบนเขา 1 แห่ง อีกทั้งมีแหล่งน้ำซับกระจายอยู่ทั่วไป จึงถือเป็นป่าต้นน้ำที่มีความสำคัญมากของเมืองไทย นอกจากนี้ ด้วยสภาพผืนป่าที่ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์สูง ปัจจุบันจึงมีบริการจัดเส้นทางศึกษาธรรมชาติ อาทิ พรรณพืชชนิดต่าง ๆ นิเวศวิทยาตลอดจนซากฟอสซิลอายุประมาณ 280 ล้านปี ซึ่งเป็นหลักฐานทางธรณีวิทยาสำคัญที่แสดงว่าบริเวณเทือกเขานี้เคยเป็นไหล่ทวีปและอยู่ใต้น้ำมาก่อน ภายในบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาสมโภชน์ ยังได้ค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะที่วัดถ้ำพรหมโลกค้นพบขวานหินตัด ยุคสมัยหินตอนปลาย อายุราว 3,000 ปี ใบหอกสำริดภาชนะดินเผาในยุคโลหะ อายุประมาณ 2,500 ปี พระพุทธรูปสลักด้วยไม้สมัยอยุธยาตอนปลาย หรือ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อายุราวพุทธศตวรรษที่ 23-24 บรรยากาศที่เงียบสงบท่ามกลางสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอันสมบูรณ์แห่งนี้ยังมีสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรม ณ วัดเขาสมโภชน์ วัดถ้ำพรหมโลกและบริเวณใกล้วัดถ้ำพรหมโลกมีลานยุคหินผุดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติให้เยี่ยมชมกันอย่างใกล้ชิดอีกด้วย

 
แหล่งท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรมหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
3a6517801dc439eafe0b25b3447acb56d558c241e2941fef0ced47bc603bb2cc

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

                      เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เป็นเขื่อนดินแกนดินเหนียว ที่มีสันเขื่อนยาวที่สุดในประเทศไทย ช่วยกักเก็บน้ำจากแม่น้ำป่าสัก ซึ่งมีต้นน้ำอยู่ในจังหวัดเลย เขื่อนนี้สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสำเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมในลุ่มแม่น้ำป่าสัก และ ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มดำเนินการก่อสร้างในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยกรมชลประทาน เป็นผู้รับผิดชอบสืบเนื่องจากปัญหาการเกิดน้ำท่วมในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักในฤดูน้ำหลากและขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูร้อน อันเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงพระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานศึกษาความเหมาะสมถึงการสร้างเขื่อนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ซึ่งสามารถแก้ปัญหาได้ทั้งบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอีกด้วย จนกระทั่งวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้เปิดโครงการก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำแม่น้ำป่าสัก ภายหลังการศึกษาความเหมาะสม และผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมแล้ว

 

เขื่อน1
สวนสัตว์

อ่างเก็บน้ำซับเหล็ก

                 หรืออีกที่เรียกว่า ห้วยซับเหล็ก ตั้งอยู่ที่ ตำบลนิคมสร้างตนเอง อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี มีเนื้อที่กว่า 1,760 ไร่ ถือว่าเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานเลย เพราะในสมัยพระนารายณ์ได้ขุด อ่างเก็บน้ำซับเหล็ก ขึ้นมาและต่อท่อ เพื่อเอาน้ำจากที่นี่ไปใช้ในพระราชวังนารายณ์ ถือเป็นต้นกำเนิดของการประปาของไทยเลยค่ะ ต่อมาใน สมัยที่จอมพลป.พิบูลสงคราม ได้ใช้เพื่อเก็บน้ำไว้สำหรับการเกษตร และในปีพ.ศ. 2520 ทางจังหวัดได้มีการปรับปรุง ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติโดยทำถนนรอบอ่างเก็บน้ำ ปลูกต้นไม้ และสร้างศาลาพักร้อน ไว้รองรับนักท่องเที่ยวอ่างเก็บน้ำซับเหล็ก ได้กลายเป็นปอดของจังหวัดลพบุรีไปแล้ว และได้รับฉายาว่าเป็นทะเลน้ำจืดกลางเมืองลพบุรี อีกด้วย เพราะเอกลักษณ์คือมีชายหาดเหมือนทะเล และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ห่วงยาง สปีดโบ๊ท มาให้บริการนักท่องเที่ยว 

วัดเสาธงทอง

วัดเสาธงทอง

                    ตั้งอยู่บนถนนฝรั่งเศสซึ่งตัดเชื่อมระหว่างพระราชวังนารายณ์ฯ กับบ้านหลวงรับราชทูต เป็นวัดเก่าแก่ เดิมแยกเป็น 2 วัด คือ วัดรวก และวัดเสาธงทอง พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เตชะคุปต์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ได้รายงานกราบทูลเสนอความเห็นต่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส

                   วัดอารามหลวงชั้นตรีที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดลพบุรี เดิมแยกเป็น 2 วัดคือ วัดรวกและวัดเสาธงทองจนกระทั่งพระยาโบราณราชธานินท์เห็นว่า วัดรวกมีโบสถ์ วัดเสาธงทองมีวิหาร หากรวมเป็นวัดเดียวก็น่าจะดีกว่า ปัจจุบันตัววัดตั้งอยู่ใจกลางเมืองลพบุรีซึ่งมีทำเลที่ตั้งอยู่บนเนินดินที่สูงกว่าที่อื่น ๆ สำหรับสิ่งแรกที่ควรทำ เมื่อมาถึงวัดเสาธงทองคือเข้าไปในวิหารหลวงเพื่อกราบสักการะพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวลพบุรี หรือหลวงพ่อโต พระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์ใหญ่สีทอง จากนั้นค่อยเดินไปด้านหลังพระวิหารจะพบเจดีย์สีขาวองค์ใหญ่ ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระประธานยืนทรงเครื่องปางห้ามสมุทรแต่จะเปิดให้เข้าไปในพระอุโบสถได้เฉพาะเวลาปฏิบัติกิจของสงฆ์เท่านั้น

วัดเวฬุวัน

วัดเวฬุวัน(วัดเขาจีนแล)

                         วัดเวฬุวันนั้น ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๑ หมู่ ๗ ตำบลนิคมสร้างตนเอง อำเภอเมืองลพบุรี  จังหวัดลพบุรี อยู่ในหุบเขาจีนแล มีเนื้อที่โดยพฤตนัยประมาณ ๑ ตารางกิโลเมตร เนื้อที่โดยนิตินัย ๖๔ ไร่ ๓๘ ตารางวา แต่เดิมเมื่อเป็นสำนักสงฆ์ ชาวเมืองลพบุรีเรียกว่า “ วัดเขาจีนแล ” เพราะตั้งอยู่บนหุบเขาจีนแล เมื่อสร้างวัดเสร็จสมบูรณ์แล้ว จึงขอพระราชทานวิสุงคามสีมา พร้อมทั้งขอตั้งนามวัดว่า “ วัดเวฬุวัน ” นามวัดนี้สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฎฐายีมหาเถระ) วัดมกุฎกษัตริยารามได้ทรงแนะนำไว้เมื่อครั้งเสด็จมาทรงวางศิลาฤกษ์ในการสร้างพระพุทธธรรมรังสีมุนีนาถศาสดา ทางราชการจึงได้สถาปนานามวัดว่า “ วัดเวฬุวัน ” พระพุทธรูปสำคัญ 2 องค์ คือ พระพุทธรูปใหญ่ ที่หลวงพ่อลีสร้าง และพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงสร้างถวายซึ่งประดิษฐานอยู่บนยอดเขา ที่วัด แห่งนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการไปเที่ยวพักผ่อนชมธรรมชาติหรือไปแสวงบุญ มีโบสถ์รูปร่างแปลกสวยงามสำหรับให้บำเพ็ญธรรม มีสำนักชีคอยบริการให้ความสะดวกแก่ผู้ไปเที่ยวและไปทำบุญและยังมีหอสมุดของวัดซึ่งมีหนังสือธรรมะต่าง ๆ มากมายไว้บริการวัดเขาจีนแลเป็นวัดที่สร้างขึ้นใหม่ สถานที่ร่มรื่น มีภูเขาล้อมรอบสี่ด้าน เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ 2 องค์ คือ พระพุทธรูปใหญ่ที่หลวงพ่อลีสร้าง และพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงสร้างประดิษฐานอยู่บนยอดเขา มีโบสถ์รูปทรงแปลก จั่วเป็นซุ้มกุทุแบบอินเดีย รวมถึงหอสมุดและสำนักชี

สวนสัตว์ลพบุรี

สวนสัตว์ลพบุรี

                       ห่างจากวงเวียนสระแก้วไปทางทิศตะวันออกประมาณ 1 กิโลเมตร สวนสัตว์แห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2483 สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม

ความน่ารักน่าชังของเจ้าลิงอุรังอุตังเจ้าไมค์กับซูซู เป็นที่เลื่องลือมานานสำหรับสวนสัตว์ลพบุรี ทั้งคู่เป็นดาวเด่น ขวัญใจของนักท่องเที่ยวและได้เพิ่มสมาชิกใหม่ให้กับสวนสัตว์ลพบุรีถึง 7 ตัว รวมถึงผองเพื่อนต่างสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่นักท่องเที่ยวจะได้ชื่นชมความฉลาดแสนรู้ เช่น กวาง ลิง เสือโคร่ง เสือดาว กระต่าย เต่า ช้าง จิงโจ้ ฯลฯ โดยสวนสัตว์แห่งนี้เป็นสวนสัตว์เก่าแก่ประจำเมืองลพบุรี สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 สมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีก่อนจะถูกทิ้งร้างมานานหลายปี จนกระทั่งปี พ.ศ. 2520 พลตรีเอนก บุนยถี จับมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งชมรมสโมสร พ่อค้า ประชาชน ดำเนินการปรับปรุงบูรณะสวนสัตว์แห่งนี้ขึ้นมาใหม่เพื่อให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้เรื่องสัตว์และพืชต่าง ๆ โดยทุกวันเสาร์ทางสวนสัตว์จะมีกิจกรรมการแสดงลิเก สาธิตจับงู และอื่น ๆ ให้นักท่องเที่ยวได้เพลิดเพลิน

หมู่บ้านดินสอพอง

หมู่บ้านดินสอพอง

                       เป็นแหล่งผลิตดินสอพองที่มีคุณภาพดีที่สุดแห่งเดียวในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี อยู่บริเวณสะพาน 6 มีตำนานเล่าว่า เมื่อครั้งแรกสร้างเมืองลพบุรี พระรามแผลงศรมาตกที่นี่ แต่ด้วยความที่ศรพระรามร้อนแรงเหมือนไฟ จึงทำให้ดินบริเวณนี้สุกพองเป็นสีขาว ด้วยเหตุนี้ ชาวเมืองลพบุรีจึงขุดดินขาวขึ้นมาทำดินสอพองขายกันเป็นอาชีพมานมนาน อย่างน้อยนับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

                      เมื่อเข้าไปในหมู่บ้าน ท่านจะเห็นชาวบ้านทำดินสอพองกันแทบทุกครัวเรือนตลอดแนวคลองชลประทาน ในบริเวณดังกล่าวจะมีดินสีขาวที่เรียกว่า ดินมาร์ล ซึ่งมีเนื้อเนียนขาว ละเอียดแน่น จึงไม่เหมาะแก่การปลูกพืช แต่ด้วยภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ได้นำมาผลิตเป็นดินสอพอง ซึ่งสามารถนำไปเป็นวัตถุดิบในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้หลายชนิด เช่น แป้ง เครื่องสำอาง ยาสีฟัน ตกแต่งผิวเครื่องเรือน ฯลฯ

                      กระบวนการผลิตดินสอพองของหมู่บ้านแห่งนี้เป็นแบบดั้งเดิม โดยขั้นแรก ขนดินมาร์ลใส่บ่อกาก แล้วปล่อยน้ำลงไปผสมดินให้ละลาย เมื่อดินละลายดีแล้ว ตักน้ำดินจากบ่อกาก เทผ่านตะแกรงลงในบ่อกรองหรือบ่อเนื้อ เพื่อแยกเอาหินกรวดและเศษหญ้าทิ้ง ขั้นถัดมา ตักน้ำดินจากบ่อกรอง เทผ่านผ้ากรองลงในบ่อนำแผ่น ทิ้งไว้ 1 คืน ดินขาวจะตกตะกอนนอนก้นบ่อ ตอนบนจะเป็นน้ำใส จากนั้นค่อยๆ ช้อนหรือดูดเอาน้ำใสนี้ออกจากบ่อ จนเหลือแต่แป้งดินสอพองขาวข้น และขั้นสุดท้าย ตักแป้งดินสอพองหยอดใส่แม่พิมพ์ แล้วตากบนผ้าใบขาวปูรอง เพื่อดูดซับน้ำ ตากแดดให้แห้งสนิทพร้อมนำไปจำหน่ายต่อไป

                      สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจชมการผลิตดินสอพอง สามารถเดินทางมาชมได้ทุกวันที่หมู่บ้านหินสองก้อน เว้นวันที่ฝนตกหรือไม่มีแดด ทั้งเพราะการผลิตดินสอพองจำเป็นต้องตากแดด เพื่อให้ดินแห้งเป็นก้อน อีกทั้งนักท่องเที่ยวยังสามารถซื้อดินสอพองได้ในราคาย่อมเยา จะซื้อเป็นของฝากก็ได้ หรือจะซื้อไปขายต่อก็ได้กำไรดี

 บ้านท่ากระยาง

หมู่บ้านท่ากระยาง(หล่อทอง)

                     หมู่บ้านท่ากระยาง ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรีแต่เดิมชาวบ้านมีอาชีพทางเกษตร ได้แก่ ทำไร่ ทำนา ทำสวน เป็นอาชีพหลัก และทำการหล่อทองเหลืองเป็นอาชีพเสริม คนที่ไม่ได้ทำไร่ทำนาก็จะมาทำงานทองเหลืองแทน ช่างหล่อทองเหลืองบ้านท่ากระยาง มีประวัติการหล่อทองเหลืองมากว่า 100 ปี โดยได้รับการถ่ายทอด มาจากช่างในชุมชนท่าโพธิ์ (ซึ่งอยู่ติดกัน –ปัจจุบันไม่มีการทำงานทองเหลืองแล้ว) งานช่างหล่อทองเหลืองของหมู่บ้านท่ากระยางมีการพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของตลาด ก่อให้เกิดการพัฒนาการรูปแบบของผลิตภัณฑ์ ผสมผสานกับรูปแบบสร้างสรรค์สมัยใหม่ เป็นสินค้าสู่ตลาดโลกเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ในระดับ 5 ดาว ของจังหวัดลพบุรี ศูนย์รวมผลงานชมรมช่างหล่อทองเหลืองท่ากระยาง ลักษณะเฉพาะของงานทองเหลืองบ้านท่ากระยางในอดีตจะมีลักษณะเฉพาะเป็นแนวสิ่งเคารพบูชา สิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อสนองความต้องการทางด้านขวัญและกำลังใจ ความเชื่อ สิ่งบวงสรวง การสืบทอดวัฒนธรรมของชาวบ้าน ได้แก่ พระพุทธรูป เทวรูป และพระเกจิอาจารย์ต่าง ๆ แต่ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ทองเหลืองของบ้านท่ากระยางมีหลากหลายมากขึ้น ขึ้นอยู่กับความชอบและความต้องการของลูกค้า

ผ้ามัดหมี่ไทยพวน

หมู่บ้านทอผ้ามัดหมี่(ผ้ามัดหมี่ไทยพวน)

                       ตั้งอยู่ที่ ตำบลหินปัก อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ซึ่งได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันจากบรรพบุรุษชาวไทยพวน ที่อพยพจากแขวงเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาตั้งรกรากในประเทศไทย ที่นำเอาภูมิปัญญา ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น นอกจากการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่สืบทอดกันมา ชาวบ้านยังใช้ผ้าทอมัดหมี่สำหรับการนุ่งห่มในชีวิตประจำวัน ซึ่งการทอผ้ามัดหมี่แสดงออกถึงเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นของชาวไทยพวนบ้านหมี่ ลวดลายและสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่บนผืนผ้า สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถีชีวิตของชาวบ้าน วัฒนธรรมการแต่งกาย และคตินิยม จึงเป็นเสมือนกระจกเงาที่สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรม รสนิยม และความเป็นตัวแทนของท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นตน

ศูนย์อนุรักษ์ผึ้ง

ศูนย์อนุรักษ์ผึ้ง

                      ตั้งอยู่เลขที่ 280 ซอย 24 สายตรี หมู่ที่ 9 ตำบลพัฒนานิคม เป็นศูนย์อบรมและเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ในประเทศไทย เป็นแหล่งจำหน่ายอุปกรณ์การเลี้ยงผึ้ง ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผึ้ง เกสรผึ้ง เทียนไข ฯ ลฯ 

                       ลุงสอาด ศรีพันธุ์ กูรูด้านการเลี้ยงผึ้งของประเทศไทยตั้งใจสร้างศูนย์อนุรักษ์ผึ้ง หรือรู้จักกันในชื่อ "ฟาร์มเลี้ยงผึ้งลุงสะอาด" เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้งพันธุ์ในประเทศไทย แขกไปใครมาใช่ว่าจะได้เพียงความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้งกลับไปที่นี่ยังมีผลิตภัณฑ์ที่ทำ จากน้ำผึ้งให้เลือกซื้อเลือกหา อาทิ น้ำผึ้งจากดอกทานตะวัน น้ำผึ้งรวงธรรมชาติ นมผึ้ง เกสรผึ้งสด ไปจนถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผึ้งไม่ว่าจะเป็น ครีมนมผึ้ง ขี้ผึ้งแท้ หรือกาวผึ้ง เดินดูแล้วเกิดถูกตาต้องใจ สนใจอยากจะทำธุรกิจฟาร์มเลี้ยงผึ้ง ลุงสอาดยินดีให้คำปรึกษาพร้อมทั้งมีอุปกรณ์การเลี้ยงผึ้งจำหน่าย

ฟาร์มจรเข้สวนหิน
  • ฟาร์มจระเข้ สวนหิน
  •                      ฟาร์มจระเข้มิดเวย์พาร์ค ตั้งอยู่ที่ถนนแยกทางหลวงหมายเลข 1 - วังม่วง ก่อนถึงเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ประมาณ 10 กิโลเมตร สถานเพาะเลี้ยงจระเข้ สวนหิน ที่นอกจากจะมีจระเข้แล้วยังมีสัตว์อื่นๆ อีกมากมาย เช่น สัตว์ป่าหิมพานต์ในตำนานที่หาดูยาก วังปลาหลายพันธุ์ ได้แก่ ปลาช่อนอเมซอน ปลาบึก ปลาเทโพ – เทพา ปลาดุกยักษ์รัสเซีย ปลาแรด ปลาสวาย ฯลฯ นอกจากนั้นยังสามารถซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องหนังจระเข้ในราคาโรงงาน ชมของสะสมหายากในบรรยากาศฟาร์ม มุมถ่ายรูปกับของสะสมและเหล่า Super Hero เปิดทุกวัน เวลา 08.00 - 17.00 น.

หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ยังมีค่าย A03

หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ค่าย A03

                        ปัจจุบันศูนย์บัญชาการสงครามพิเศษ อยู่ภายในค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ใกล้วงเวียนศรีสุริโยทัย (วงเวียนสระแก้ว) แต่จุดน่าสนใจสำหรับการท่องเที่ยวคือพิพิธภัณฑ์ทหารรบพิเศษ ซึ่งตั้งอยู่ที่ค่ายวชิราลงกรณ์ ทางทิศใต้ของวงเวียนสมเด็จพระนารายณ์

                        ภายในพิพิธภัณฑ์ทหารรบพิเศษน่าสนใจพอสมควร มีการแบ่งส่วนจัดแสดงมากมาย เล่าเรื่องประวัติความเป็นมาของเหล่าทหารรบพิเศษหรือพลร่ม จัดแสดงอาวุธต่างๆ หลักฐานและวิธีการฝึกของหน่วย การปฏิบัติการในหลากหลายรูปแบบ รวมถึงมีห้องปฏิบัติการใต้น้ำจำลองเหตุการณ์การฝึกพิเศษใต้น้ำ ห้องปฏิบัติการใต้ดินแสดงการฝึกแผนปฏิบัติการใต้ดินซึ่งโดยมากเป็นปฏิบัติการทำลายล้าง และห้องปฏิบัติการรบในป่าจำลองวิธีที่เหล่าทหารต้องฝ่าฟันอุปสรรคมากมายในการป้องกันประเทศ

                        นอกจากนี้หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ยังมีค่าย A03 บริเวณทางเข้าอ่างเก็บน้ำซับเหล็ก ซึ่งเป็นศูนย์รวมกิจกรรมในรูปแบบการทดสอบกำลังใจ ฝึกทักษะ ผจญภัย รวมถึงการดำรงชีวิตแบบทหาร อาทิ การกระโดดหอ ไต่หน้าผาจำลอง ยิงปืน สะพานเชือก พายเรือ ซึ่งหน่วยงาน องค์กร หรือบริษัทต่างๆ สามารถติดต่อทำกิจกรรมแบบหมู่คณะและเข้าค่ายพักแรมได้

ศูนย์การทหารปืนใหญ่

ศูนย์การทหารปืนใหญ่ 

                       โดยมีศูนย์บัญชาการอยู่ ณ ค่ายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สังกัดกองทัพบกไทยตั้งอยู่ที่ ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ในปัจจุบันมีการเปิดค่ายทหารให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ในค่ายทหารต่างๆของจังหวัดลพบุรี เช่นเดียวกับศูนย์การทหารปืนใหญ่ฯ แห่งนี้ การเที่ยวชมแหล่งท่องเที่ยวในเขตทหาร ที่เดี๋ยวนี้มีค่ายทหารหลายแห่ง เปิดประตูให้คนทั่วไปเข้ามาท่องเที่ยว อย่างที่ "ศูนย์การทหารปืนใหญ่" ค่ายพหลโยธิน อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี ซึ่งมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ดังนี้

  1. กองบัญชาการเขาน้ำโจน (ตึกชาโต้) จัดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2487 ตั้งอยู่บนเขาน้ำโจน เป็นศิลปกรรมแบบฝรั่งเศส สร้างด้วยหินทั้งหลัง ออกแบบให้มีลักษณะของป้อมปราการที่แข็งแกร่งดุจหินผา มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในห้วงสงครามมหาเอเชียบูรพา โดย ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ใช้ตึกนี้เป็นตึกบัญชาการวางแผนยุทธศาสตร์
  2. พิพิธภัณฑ์พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ได้จัดที่บ้านพักของท่าน ซึ่งเคยเป็นผู้อำนวยการแผนกโรงเรียนทหารปืนใหญ่โคกกระเทียมลพบุรี จัดเป็นห้องต่างๆ ได้แก่ ห้องรับแขก ห้องส่วนตัว มีตู้ของใช้เสื้อผ้า และห้องเก็บของ
  3. ตึกพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์ 111 ปี ฯพณฯ พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ภายในพิพิธภัณฑ์ ส่วนใหญ่จะเป็นภาพของที่ระลึก เหรียญตราและชุดเครื่องแบบ
  4. พิพิธภัณฑ์อาวุธทหารปืนใหญ่ เป็นที่เก็บรวบรวมปืน และอาวุธยุทโธปกรณ์ของทหารปืนใหญ่ อาทิเช่น ปืนใหญ่โบราณ ปืนใหญ่มหาชัย ปืนใหญ่มหาฤกษ์ ปืนใหญ่โบราณเนื้อทองเหลือง ปืนใหญ่ภูเขาเบอร์ 51 เป็นต้น
  5. อนุสรณ์สถาน จอมพล ป.พิบูลสงคราม ปรับปรุงจากบ้านพักนายทหารสัญญาบัตร หมายเลข 59 สร้างในปี พ.ศ. 2481 ซึ่งเป็นบ้านพักของ ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในขณะที่ ฯพณฯ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรก
  6. อนุสาวรีย์ จอมพล ป.พิบูลสงคราม จัดสร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2522 เพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงคุณงามความดีของ ฯพณฯ ที่มีต่อประเทศชาตินานัปการ
  7. อนุสาวรีย์ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ที่จัดสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2503 เพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงคุณงามความดีของ ฯพณฯ ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็น "เชษฐบุรุษ"ของไทย
  8. หลวงพ่อเขาน้ำโจน เป็นพระพุทธรูป หินทรายปางนาคปรก สมัยลพบุรี เป็นที่เคารพสักการบูชาของชาวค่ายพหลโยธินและบริเวณใกล้เคียง เป็นพระพุทธรูปที่มีความเก่าแก่และงดงามอย่างยิ่ง
 แกะสลักหินทราย

หมู่บ้านแกะสลักหินทราย

                            ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 บ้านหนองแล้ง ริมถนนในตัวอำเภอสำโรง ชาวบ้านมีอาชีพแกะสลักหินทรายเป็นรูปต่างๆ เลียนแบบของเก่า เช่น ศิวลึงค์ ธรรมจักร กวางหมอบ ศิลปะทวาราวดี เทวรูปสุริยเทพ ศิลปะทวาราวดี พระพุทธรูปศิลปลพบุรี รูปสัตว์ต่างๆ ฯลฯ นำส่งร้านขายของเก่าที่กรุงเทพฯ และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

 

 

 

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
   - โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนารูปแบบแหล่งท่องเที่ยว เสนอต่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี มิถุนายน 2559 (ดาวน์โหลด)

LOGOBIG COLOUR3

 

แผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่

 

 

แผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่ ประจำปี พ.ศ. 2566 - 2570 (ดาวน์โหลด)

 

 

 

logo

มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต

 

       * การวิเคราะห์ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี

       * การวิเคราะห์ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี

          * มาตรการขับเคลื่อนคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน

              -- คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานยกระดับคะแนนการประเมิน ITA 2565              

               -- คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานยกระดับคะแนนการประเมิน ITA 2564

              -- คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการทำงานยกระดับคะแนนการประเมิน ITA 2564

              -- คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานปรับปรุงดูแลเว็บไซต์

          * การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในหน่วยงาน    

               -- รายงานการประชุมคณะทำงาน ITA 1/2565

               -- รายงานการประชุมคณะทำงาน (ฝ่ายปฏิบัติการ) ITA 1/2565

                -- รายงานการประชุมคณะทำงาน (ฝ่ายปฏิบัติการ) ITA 2/2565

Don't have an account yet? Register Now!

Sign in to your account