tharenfrdeiditjakomsruvi

Loppao tran

ประวัติ - อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี

หน้าที่ขององคืการบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี

1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกับผังเมืองรวม พัฒนาระบบการบริการ สาธารณูปโภค สาธารณูปการ รวมถึงการคมนาคมขนส่ง 
    ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างครอบคลุมทั่วถึง
2. พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นทั้งด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว อุตสาหกรรม เกษตรกรรม หัตถกรรมและสินค้า OTOP บนพื้นฐาน ของศักยภาพ 
ที่แข่งขันได้และยั่งยืน
3. อนุรักษ์ฟื้นฟูและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างประหยัดคุ้มค่า และสามารถนำพลังงาน
   ทดแทนมาใช้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น
4. ส่งเสริมฟื้นฟูอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมล้านนา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ฟื้นฟูบูรณะโบราณสถาน/สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
5. ยกระดับคุณภาพ ชีวิต ของประชาชนทั้งด้านการศึกษา สุขภาพ วิถีการประกอบอาชีพการดำรงชีวิต ที่เข้มแข็งนำไปสู่สังคมที่มีคุณภาพ
6. บริหารจัดการองค์กรตามหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีให้มีประสิทธิภาพ
7. ป้องกันบรรเทาสาธารณภัยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ท้องถิ่น

อำนาจขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี

1. พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 (คัดเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้อง) 

               มาตรา 45 องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการภายในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด ดังต่อไปนี้ 
               (1) ตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย 
               (2) จัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด 
               (3) สนับสนุนสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น 
               (4) ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น 
               (5) แบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่สภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น 
               (6) อำนาจหน้าที่ของจังหวัดตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ.2498 เฉพาะภายในเขตสภาตำบล 
               (7) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
               (8) จัดทำกิจการใด ๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด และกิจการนั้นเป็นการสมควรให้ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นร่วมกันดำเนินการหรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง 
               (9) จัดทำกิจการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด บรรดาอำนาจหน้าที่ใดซึ่งเป็นของราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคอาจมอบอำนาจให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดปฏิบัติได้ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

               มาตรา 46 องค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจจัดทำกิจการใด ๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่นหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดอื่นที่อยู่นอกเขตจังหวัดได้เมื่อได้รับความยินยอมจากราชการส่วนท้องถิ่นอื่นหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง 

               มาตรา 47 กิจการใดเป็นกิจการที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดพึงจัดทำตามอำนาจหน้าที่ ถ้าองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่จัดทำ รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจมีคำสั่งให้ราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคจัดทำกิจการนั้นได้ ในกรณีที่ราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคจัดทำกิจการตามวรรคหนึ่งให้คิดค่าใช้จ่ายและค่าภาระต่างๆ ตามความเป็นจริงได้ตามอัตราและระยะเวลาที่เหมาะสม 

               มาตรา 48 องค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่น โดยเรียกค่าบริการได้ โดยตราเป็นข้อบัญญัติ 

               มาตรา 49 องค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจมอบให้เอกชนกระทำกิจการซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการหรือค่าตอบแทนที่เกี่ยวข้องแทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัดเสียก่อน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้กระทำกิจการตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด สิทธิในการกระทำกิจการตามวรรคหนึ่ง เป็นสิทธิเฉพาะตัวจะโอนไม่ได้ 

               มาตรา 50 การดำเนินกิจการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีลักษณะเป็นการพาณิชย์อาจทำได้โดยการตราเป็นข้อบัญญัติ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด 

               มาตรา 51 ข้อบัญญัติจะตราขึ้นได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ 
               (1) เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ 
               (2) เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดตราข้อบัญญัติหรือให้มีอำนาจตราข้อบัญญัติ 
               (3) การดำเนินการพาณิชย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตามมาตรา 50 ในข้อบัญญัติจะกำหนดโทษผู้ละเมิดข้อบัญญัติไว้ด้วยก็ได้ แต่ห้ามมิให้กำหนดโทษจำคุกเกินหกเดือน และหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น 

               มาตรา 52 ร่างข้อบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีและร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมจะเสนอได้ก็แต่โดยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 

               มาตรา 53 ข้อบัญญัติจะใช้บังคับได้เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติและประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้วสิบห้าวัน เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉินถ้ามีความระบุไว้ในข้อบัญญัตินั้นว่าให้ใช้บังคับได้ทันที ให้ใช้บังคับข้อบัญญัติในวันที่ประกาศ เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้รับร่างข้อบัญญัติแล้วต้องอนุมัติและประกาศภายในสิบห้าวัน ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อนุมัติและประกาศร่างข้อบัญญัติภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นด้วยกับร่างข้อบัญญัติ ผู้ว่าราชการจังหวัดจะอนุมัติร่างข้อบัญญัติใดมิได้ถ้าเห็นว่าร่างข้อบัญญัตินั้นเป็นร่างข้อบัญญัติที่ฝ่าฝืนกฎหมาย หรือเป็นร่างข้อบัญญัติที่ออกนอกเหนืออำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ในกรณีเช่นนั้นให้ร่างข้อบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป 

               มาตรา 54 เมื่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้พิจารณาและเห็นชอบด้วยกับร่างข้อบัญญัติใด ให้ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดส่งร่างข้อบัญญัตินั้นไปยังนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อลงนามแล้วส่งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อพิจารณาภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้ความเห็นชอบ ในกรณีที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่เห็นด้วยกับร่างข้อบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้ว ให้ส่งร่างข้อบัญญัตินั้นไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งเพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดวินิจฉัยชี้ขาด ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นด้วยกับสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้ส่งร่างข้อบัญญัตินั้นให้กับนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลงนามภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคืนมา ถ้านายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่ลงนามภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดลงนามและประกาศใช้บังคับต่อไป ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นด้วยกับสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้ส่งร่างข้อบัญญัติคืนไปยังสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และให้สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจารณาใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบัญญัติคืนมา ถ้าสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดยังยืนยันให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเท่าที่มีอยู่ ให้ดำเนินการประกาศร่างข้อบัญญัตินั้นใช้บังคับต่อไป 

               มาตรา 55 เมื่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้พิจารณาและไม่เห็นชอบด้วยกับหลักการของร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ให้ส่งร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมนั้นไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่ให้ความเห็นชอบ ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นด้วยกับสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมนั้นเป็นอันตกไป และให้ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมีหนังสือแจ้งความเห็นชองของผู้ว่าราชการจังหวัดไปยังประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นด้วยกับสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้ส่งร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมคืนไปยังสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และให้สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจารณาใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมคืนมา ถ้าสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดยังยืนยันไม่เห็นชอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเท่าที่มีอยู่ ให้ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมเป็นอันตกไป 

               มาตรา 56 ข้อบัญญัติให้ใช้บังคับได้ในเขตขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัติท้องถิ่นอื่นในเขตจังหวัดนั้น ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดและกระทรวงมหาดไทยจัดให้มีข้อบัญญัติที่ประกาศใช้บังคับแล้วไว้ ณ ที่ทำการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและกรมการปกครองเพื่อให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ 

               มาตรา 57 ในกรณีฉุกเฉินซึ่งจะเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้ทันท่วงทีมิได้ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจออกข้อบัญญัติชั่วคราวได้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสามัญประจำสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และเมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้วให้ใช้บังคับได้ ในการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดคราวต่อไป ให้นำข้อบัญญัติชั่วคราวนั้นเสนอต่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่ออนุมัติ และเมื่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอนุมัติแล้ว ให้ใช้ข้อบัญญัติชั่วคราวนั้นเป็นข้อบัญญัติต่อไป แต่ถ้าสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่อนุมัติ ให้ข้อบัญญัติชั่วคราวนั้นเป็นอันตกไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้ข้อบัญญัติชั่วคราวนั้น 

2. กฎกระทรวง (พ.ศ. 2541) ออกตามความใน พรบ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
               อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 45(8) แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
               ให้กิจการดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นสมควรให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดร่วมดำเนินการ หรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ
                  (1) จัดให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
                  (2) กำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
                  (3) บำบัดน้ำเสีย
                  (4) บำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                  (5) วางผังเมือง
                  (6) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ซึ่งอย่างน้อยต้องเป็นทางหลวงชนบทตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวง
                 (7) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำ
                 (8) จัดให้มีท่าเทียบเรือ ท่าข้าม ที่จอดรถ และตลาด
                 (9) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
               (10) รักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
               (11) จัดการศึกษา ทำนุบำรุงศาสนา และบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
               (12) จัดให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬา สถานพักผ่อนหย่อนใจ สวนสาธารณะและสวนสัตว์ตลอดจนสถานที่ประชุมอบรมสำหรับราษฎร
               (13) จัดให้มีการสังคมสงเคราะห์และการสาธารณูปการ
               (14) ป้องกันและบำบัดรักษาโรค
               (15) จัดตั้งและการบำรุงสถานพยาบาล
               (16) ส่งเสริมการท่องเที่ยว
               (17) ส่งเสริมและแก้ไขปัญหาการประกอบอาชีพ
               (18) กิจการที่ได้มีการกำหนดไว้ในแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด

3. กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2541) ออกตามความใน พรบ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
               อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
               องค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจจัดทำกิจการใด ๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่น หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดอื่น ที่อยู่นอกเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ เมื่อ
               (1) การนั้นจำเป็นต้องกระทำ และเป็นการที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในองค์การบริหารส่วนจังหวัด
               (2) ได้รับความยินยอมจากสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และ
               (3) ได้รับความยินยอมจากสภาแห่งราชการส่วนท้องถิ่น หรือสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี

4. กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2541) ออกตามความใน พรบ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
               อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

               ข้อ 1 ให้กรมทรัพยากรธรณีจัดสรรค่าภาคหลวงแร่ ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีการจัดเก็บค่าภาคหลวงแร่นั้น ในอัตราร้อยละยี่สิบ

               ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมสั่งให้คืนค่าภาคหลวงแร่ ให้แก่ผู้ใช้แร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ ให้กรมทรัพยากรธรณีหักค่าภาคหลวงแร่ไว้เพื่อจ่ายคืนให้แก่ผู้ใช้แร่ก่อน แล้วจึงนำค่าภาคหลวงแร่ที่เหลือมาจัดสรรให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดในอัตราที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง

               ข้อ 2 ให้กรมทรัพยากรธรณีจัดสรรค่าภาคหลวงปิโตรเลียม ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีการจัดเก็บค่าภาคหลวงปิโตรเลียมนั้น ในอัตราร้อยละสามสิบ

               ค่าภาคหลวงปิโตรเลียมตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึงค่าภาคหลวงปิโตรเลียมที่จัดเก็บเป็นตัวเงินเท่านั้น

               ข้อ 3 การจัดสรรค่าภาคหลวงแร่ หรือค่าภาคหลวงปิโตรเลียมที่จัดเก็บ สำหรับแร่หรือปิโตรเลียมที่ผลิตได้จากประทานบัตรหรือสัมปทาน แล้วแต่กรณี ที่มีพื้นที่ตามประทานบัตรหรือสัมปทานอยู่ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดหลายแห่ง ให้กรมทรัพยากรธรณีจัดสรรค่าภาคหลวงแร่หรือค่าภาคหลวงปิโตรเลียมให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น ๆ แห่งละเท่ากัน

               ข้อ 4 การจัดสรรค่าภาคหลวงแร่หรือค่าภาคหลวงปิโตรเลียม ให้มีการจัดสรรปีละสี่งวด ดังนี้
               งวดที่หนึ่ง ค่าภาคหลวงที่ได้รับในเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม ให้จัดสรรภายในเดือนมกราคม
               งวดที่สอง ค่าภาคหลวงที่ได้รับในเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม ให้จัดสรรภายในเดือนเมษายน
               งวดที่สาม ค่าภาคหลวงที่ได้รับในเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ให้จัดสรรภายในเดือนกรกฎาคม
               งวดที่สี่ ค่าภาคหลวงที่ได้รับในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน ให้จัดสรรภายในเดือนตุลาคม

               ในกรณีที่มีความจำเป็น ทำให้ไม่อาจจัดสรรค่าภาคหลวงแร่หรือค่าภาคหลวงปิโตรเลียมงวดใดได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ขยายระยะเวลาการจัดสรรงวดนั้นออกไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะตกลงกัน

5. กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2541) ออกตามความใน พรบ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
               อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด
พ.ศ. 2540 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

               ข้อ 1 ให้ผู้พักในโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ที่เสียค่าเช่าห้องพัก เสียค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อ 2

               ข้อ 2 การออกข้อบัญญัติจังหวัดเพื่อเก็บค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด จากผู้พักในโรงแรมให้เรียกเก็บได้ในอัตราไม่เกินร้อยละสามของค่าเช่าห้องพัก

               ข้อ 3 ให้บุคคลผู้ควบคุมและจัดการโรงแรม เรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามข้อ 2 ไว้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัด ทุกครั้งที่มีการเรียกเก็บค่าเช่าห้องพัก และนำส่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดภายในวันที่สิบของเดือนถัดไป

6. กฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2541) ออกตามความใน พรบ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
               อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 71 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

               ให้ส่วนราชการหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ซึ่งได้รับมอบจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อเรียกเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าตอบแทน หรือรายได้อื่นใดตามมาตรา 60 มาตรา 64 มาตรา 66มาตรา 67 และมาตรา 69 หักค่าใช้จ่ายไว้ในอัตรา ดังต่อไปนี้

               (1) ให้หักไว้ในอัตราร้อยละสี่ของภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าตอบแทน หรือรายได้อื่นที่เก็บเพิ่มขึ้นหรือมอบให้เก็บ จนถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2541

               (2) เมื่อพ้นกำหนดตาม (1) ให้หักไว้ในอัตราร้อยละสามของภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าตอบแทน หรือรายได้อื่น ที่เก็บเพิ่มขึ้นหรือมอบให้เก็บ

7. พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542(คัดเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้อง)
               มาตรา 17 ภายใต้บังคับมาตรา 16 ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้ 
               (1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด 
               (2) การสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น 
               (3) การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น 
               (4) การแบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น 
               (5) การคุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
               (6) การจัดการศึกษา 
               (7) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน 
               (8) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น 
               (9) การส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม 
               (10) การจัดตั้งและดูแลระบบบำบัดน้ำเสียรวม 
               (11) การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลรวม 
               (12) การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ 
               (13) การจัดการและดูแลสถานีขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ 
               (14) การส่งเสริมการท่องเที่ยว 
               (15) การพาณิชย์ การส่งเสริมการลงทุน และการทำกิจการไม่ว่าจะดำเนินการเองหรือร่วมกับบุคคลอื่นหรือจากสหการ 
               (16) การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำทื่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น 
               (17) การจัดตั้งและดูแลตลาดกลาง 
               (18) การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น 
               (19) การจัดให้มีโรงพยาบาลจังหวัด การรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ 
               (20) การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ 
               (21) การขนส่งมวลชนและการวิศวกรรมจราจร 
               (22) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 
               (23) การจัดให้มีระบบรักษาความสงบเรียบร้อยในจังหวัด 
               (24) จัดทำกิจการใดอันเป็นอำนาจและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขตและกิจการนั้นเป็นการสมควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นร่วมกันดำเนินการหรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ
                       ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด 
               (25) สนับสนุนหรือช่วยเหลือส่วนราชการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น 
               (26) การให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น 
               (27) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส 
               (28) จัดทำกิจการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด 
               (29) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด 

               มาตรา 24 องค์การบริหารส่วนจังหวัด อาจมีรายได้จากภาษีอากรค่าธรรมเนียม และเงินรายได้ดังต่อไปนี้ 
               (1) ภาษีบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัด สำหรับน้ำมันเบนซินและน้ำมันที่คล้ายกัน น้ำมันดีเซลและน้ำมันที่คล้ายกันก๊าชปิโตรเลียมที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ ซึ่งเก็บจากการค้าภายในเขตจังหวัด 
                     โดยออกข้อบัญญัติจัดเก็บเพิ่มได้ ไม่เกินลิตรละสิบสตางค์สำหรับน้ำมัน และกิโลกรัมละไม่เกินสิบสตางค์สำหรับก๊าซปิโตรเลียม 
               (2) ภาษีบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดสำหรับยาลูบ ซึ่งเก็บจากการค้าในเขตจังหวัด โดยออกข้อบัญญัติจัดเก็บเพิ่มได้ไม่เกินมวนละสิบสตางค์ 
               (3) ภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรที่ได้รับการจัดสรรในอัตราซึ่งเมื่อรวมกับอัตราตามมาตรา 23 (4) และมาตรา 25 (6) แล้วไม่เกินร้อยละสามสิบของภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้หักส่วนที่ต้องจ่ายคืนแล้ว
                     โดยเป็นหน้าที่ของกรมสรรพากรที่จะจัดเก็บ 
               (4) ภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากร โดยออกข้อบัญญัติจัดเก็บเพิ่มขึ้นในอัตราซึ่งเมื่อรวมกับอัตราตามมาตรา 23 (5) แล้วไม่เกินแล้วไม่เกินร้อยละสามสิบของอัตราภาษีที่จัดเก็บตามประมวลรัษฎากร 
                     โดยเป็นหน้าที่ของกรมสรรพากรที่จะจัดเก็บ 
               (5) ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์ รวมทั้งเงินเพิ่มตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก และค่าธรรมเนียมล้อเลื่อนตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน 
               (6) ภาษีเพื่อการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ 
               (7) อากรรังนกอีแอ่นตามกฎหมายว่าด้วยอากรรังนกอีแอ่น 
               (8) ค่าภาคหลวงแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ ให้ได้รับการจัดสรรในอัตราร้อยละยี่สิบของค่าภาคหลวงแร่ที่จัดเก็บได้ภายในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น 
               (9) ค่าภาคหลวงปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมให้ได้รับการจัดสรรในอัตราร้อยละยี่สิบของค่าภาคหลวงปิโตรเลียมที่จัดเก็บได้ภายในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น 
               (10) ค่าธรรมเนียมบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยออกข้อบัญญัติเรียกเก็บจากผู้พักในโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม 
               (11) ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับในกิจการที่กฎหมายมอบหมายหน้าที่ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการภายในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น และให้ตกเป็นรายได้ของ 
                     องค์การบริหารส่วนจังหวัด 
               (12) ค่าธรรมเนียมใดๆ ที่เรียกเก็บจากผู้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากบริการสาะารณะที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดให้มีขึ้น 
               (13) รายได้อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

8. ประกาศกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
                เพื่อให้การดําเนินการตามอํานาจและหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในเขตจังหวัด เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่เกิดความซ้ำซ้อนในการดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัด จึงสมควรกําหนดลักษณะของอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดขึ้น

                อาศัยอํานาจตามมาตรา 12 (15 ) และมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติกําหนด
แผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 คณะกรรมการการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงประกาศกําหนดอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดไว้ ดังต่อไปนี้
                ข้อ 1 ลักษณะของการดําเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในการให้บริการสาธารณะในเขตจังหวัด
                        (1) ดําเนินงานในโครงการที่มีขนาดใหญ่ที่เกินศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในเขตจังหวัด
                        (2) เป็นการดําเนินงานที่ปรากฏถึงกิจกรรมที่เป็นภาพรวมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด ที่มุ่งต่อประโยชน์ของท้องถิ่นหรือประชาชนเป็นส่วนรวม และไม่เข้าไปดำเนินงานที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัดสามารถดําเนินการได้เอง
                        (3) เข้าไปดําเนินงานตามแผนงานหรือโครงการในลักษณะที่มีความคาบเกี่ยวต่อเนื่องหรือมีผู้ที่ได้รับประโยชน์ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากกว่า 1 แห่งขึ้นไป

                ข้อ 2 ในการดําเนินการตามอํานาจและหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามข้อ 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัดควรจะดําเนินการเพื่อให้เป็นไปในลั กษณะดังนี้ คื อ
                        (1) การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเองและประสานการจัดทําแผนจังหวัด โดยการสร้างและพัฒนาระบบการประสานแผนการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดเพื่อนําไปสู่การใช้จ่ายงบประมาณในการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความสมดุลย์และคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ
                        (2) การก่อสร้างและบํารุงรักษาโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่หรือมีการเกี่ยวเนื่องกันหลายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือในลักษณะที่เป็นเครือข่ายหลักในการเชื่อมโยงกับแผนงานโครงการที่ดําเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัด
                        (3) การจัดการศึกษา สาธารณสุข การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในระดับจังหวัด และไม่เป็นการซ้ำซ้อนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายศักยภาพและมุ้งต่อผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาการศึกษา สาธารณสุข การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัด
                        (4) การส่งเสริมจารีต ประเพณี วัฒนธรรม การท่องเที่ยว การส่งเสริมการลงทุน และพาณิชยกรรมของจังหวัด
                        (5) การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทําหน้าที่เป็นองค์กรหลักในการกําจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูลรวม การดูแลระบบบําบัดน้ำเสียรวมให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัด
                        (6) ให้บริการด้านเทคนิค วิชาการ เครื่องมือ เครื่องจักรกล บุคลากร แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในเขตจังหวัด
                        (7) ดําเนินการตามภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนภารกิจตามที่กําหนดไว้ในแผนปฏิบัติการกําหนดขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมถ่ายโอนที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด “มีหน้าที่ที่ต้องทํา”

                ข้อ 3 การสนับสนุนงบประมาณให้แก่ราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค จะกระทําได้แต่เฉพาะกรณีที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่จะต้องดําเนินการเอง แต่ไม่สามารถดําเนินการเองได้ เนื่องจากเป็นงานปฏิบัติซึ่งจะต้องใช้เทคนิควิชาการสูง และหน่วยงานของรัฐนั้นมีความสามารถที่จะดําเนินการได้ดีกว่า และผลของการให้การสนับสนุนนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินงานตามอํานาจหน้าที่ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

                        การสนับสนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัด จะกระทําได้ในกรณี ที่เร่งด่วนและจำเป็นหากไม่ดําเนินการจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประชาชน

                        การให้การสนับสนุนแก่ประชาคม องค์กรประชาชน ควรเป็นไปในลักษณะของการส่งเสริมความสามารถดำเนินการ โดยใช้ศักยภาพของตนเองในการบริหารจัดการในลักษณะของการร่วมคิด ร่วมทํา ร่วมรับผลประโยชน์ โดยไม่ให้การสนับสนุนในลักษณะของการให้สิ่งของ หรือการเข้าไปดำเนินการแทน

                ข้อ 4 หากมีปัญหา ข้อขัดข้อง ในการดำเนินงานตามอำนาจและหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตามที่กำหนดไว้ในข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่ในการวินิจฉัยและดำเนินการตามประกาศนี้

9. ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การตั้งสำนักงานทะเบียนพาณิชย์ แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546
               โดยที่พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้มีคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกำหนดให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการถ่ายโอนภารกิจตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงเห็นสมควรกำหนดเรื่องการจัดตั้งสำนักงานทะเบียนพาณิชย์ แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการข้างต้น

               อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

               ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การตั้งสำนักงานทะเบียนพาณิชย์ แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546"

               ข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสี่สิบห้าวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

               ข้อ 3 บรรดาคำสั่งหรือประกาศอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในประกาศฉบับนี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศฉบับนี้ให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน

               ข้อ 4 ให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นสำนักงานกลางทะเบียนพาณิชย์มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

                         (1) รับจดทะเบียนพาณิชย์เฉพาะพาณิชยกิจที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานกลางทะเบียนพาณิชย์เป็นการเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการพาณิชยกิจที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในท้องที่กรุงเทพมหานคร

                         (2) กำหนดหลักเกณฑ์ กำกับดูแลการดำเนินงานและรวบรวมสถิติผลการจดทะเบียนพาณิชย์ทั่วประเทศ

               ข้อ 5 ให้สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด เป็นสำนักงานทะเบียนพาณิชย์จังหวัด มีอำนาจหน้าที่รับจดทะเบียนพาณิชย์เฉพาะพาณิชยกิจที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานทะเบียนพาณิชย์จังหวัดเป็นการเฉพาะสำหรับผู้ประกอบพาณิชยกิจที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในท้องที่จังหวัดนั้น

               ข้อ 6 ภายใต้บังคับของข้อ 7 ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นสำนักงานทะเบียนพาณิชย์องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีอำนาจหน้าที่รับจดทะเบียนพาณิชย์ของผู้ประกอบพาณิชยกิจที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในท้องที่จังหวัดนั้น เว้นแต่พาณิชยกิจที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเป็นการเฉพาะให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานกลางทะเบียนพาณิชย์หรือสำนักงานทะเบียนพาณิชย์จังหวัด

               ข้อ 7 ให้เมืองพัทยา เป็นสำนักงานทะเบียนพาณิชย์เมืองพัทยา และให้เฉพาะเมืองพัทยามีอำนาจหน้าที่รับจดทะเบียนพาณิชย์ของผู้ประกอบพาณิชยกิจที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในท้องที่เมืองพัทยา เว้นแต่พาณิชยกิจที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเป็นการเฉพาะให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานกลางทะเบียนพาณิชย์หรือสำนักงานทะเบียนพาณิชย์จังหวัด

               ข้อ 8 ให้สำนักงานทะเบียนพาณิชย์ตามข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 รวบรวมสถิติผลการจดทะเบียนพาณิชย์แล้วส่งให้สำนักงานกลางทะเบียนพาณิชย์ทราบเป็นประจำภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยใช้แบบที่นายทะเบียนกลางทะเบียนพาณิชย์ประกาศกำหนด

               ข้อ 9 แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์

                         (1) ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไปในสังกัดกรมพัฒนาธุรกิจการค้าซึ่งนายทะเบียนกลางทะเบียนพาณิชย์มอบหมายเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์เพื่อปฏิบัติงานภายใต้เขตอำนาจหน้าที่ของสำนักงานทะเบียนพาณิชย์

                         (2) ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไปในสังกัดสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดซึ่งนายทะเบียนกลางทะเบียนพาณิชย์มอบหมายเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ เพื่อปฏิบัติงานภายในเขตอำนาจหน้าที่ของสำนักงานทะเบียนพาณิชย์จังหวัดนั้น

                         ในกรณีที่ไม่มีข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไปในสังกัดสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด หรือมีแต่ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญตามลำดับต่อไปนี้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์ คือพาณิชย์จังหวัด หรือผู้รักษาราชการแทนพาณิชย์จังหวัดสำหรับกรณีที่พาณิชย์จังหวัดไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไปในสังกัดสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเรียงตามลำดับอาวุโส สำหรับกรณีที่ไม่มีผู้รักษาราชการแทนพาณิชย์จังหวัดหรือมีแต่ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้

                         (3) ให้ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไปในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้นมอบหมายและพนักงานเมืองพัทยาตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป ซึ่งนายกเมืองพัทยามอบหมายเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่และนายทะเบียนพาณิชย์เพื่อปฏิบัติงานในเขตอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือเมืองพัทยาแล้วแต่กรณี

               ข้อ 10 เมื่อประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ หากสำนักงานทะเบียนพาณิชย์องค์การบริหารส่วนจังหวัดใด หรือสำนักงานทะเบียนพาณิชย์เมืองพัทยายังไม่พร้อมที่จะรับจดทะเบียนพาณิชย์และปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศฉบับนี้ ให้สำนักงานทะเบียนพาณิชย์ที่จัดตั้งขึ้นก่อนประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับมีอำนาจหน้าที่รับจดทะเบียนพาณิชย์ตามเดิมไปพลางก่อน จนกว่าจะมีประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแจ้งให้ทราบถึงความพร้อมและวันเริ่มปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานทะเบียนพาณิชย์องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือสำนักงานทะเบียนพาณิชย์เมืองพัทยาแล้วแต่กรณี

10. ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2546
               ด้วยในปัจจุบันมีประกาศกระทรวงพาณิชย์กำหนดพาณิชยกิจที่ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์หลายฉบับ ประกอบกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้มีคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้น ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกำหนดให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการถ่ายโอนภารกิจตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยและสะดวกในการอ้างอิง จึงเห็นสมควรรวมประกาศกำหนดชนิดของพาณิชย์กิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ไว้ในฉบับเดียวกันและกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของสำนักงานทะเบียนพาณิชย์

               อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

               ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่อง ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2546"

               ข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสี่สิบห้าวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

               ข้อ 3 บรรดาคำสั่งหรือประกาศอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในประกาศฉบับนี้ หรือ ซึ่งขัดหรือแย้งกับประกาศฉบับนี้ให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน

               ข้อ 4 ให้ผู้ประกอบการพาณิชยกิจดังต่อไปนี้ ทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักรต้องยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ ณ สำนักงานทะเบียนพาณิชย์ ที่ผู้ประกอบพาณิชยกิจมีสำนักงานตั้งอยู่ในเขตรับผิดชอบคือ
                         (1) การทำโรงสีข้าวและการทำโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
                         (2) การขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม คิดรวมทั้งสิ้นในวัหนึ่งวันใดขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขาย มีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
                         (3) การเป็นนายหรือตัวแทนค้าต่าง ซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียว หรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
                         (4) การประกอบหัตถกรรมหรือการอุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตามและขายสินค้าที่ผลิตได้มีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้ มีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
                         (5) การขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟ หรือเรือยนต์ ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำ และการทำโรงแรม

               ข้อ 5 ในกรณีที่ผู้ประกอบพาณิชยกิจตามข้อ 4 เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

               ข้อ 6 ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจดังต่อไปนี้ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ บริษัทมหาชนจำกัด ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด ทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักรต้องจดทะเบียนพาณิชย์ โดยให้เฉพาะสำนักงานกลางทะเบียนพาณิชย์หรือสำนักงานทะเบียนพาณิชย์จังหวัดที่ผู้ประกอบการพาณิชยกิจมีสำนักงานตั้งอยู่ในเขตรับผิดชอบ เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่รับจดทะเบียนพาณิชย์ คือ
                         (1) การขาย หรือให้เช่า แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
                         (2) การขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
                         (3) การซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                         (4) การบริการอินเทอร์เน็ต
                         (5) การใช้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
                         (6) การบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่าระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                         (7) การผลิต รับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่นวีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง

               ข้อ 7 ให้บรรดาผู้ประกอบพาณิชยกิจที่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ไว้แล้วก่อนประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ถือเป็นผู้จดทะเบียนพาณิชย์ตามประกาศฉบับนี้แล้ว

Don't have an account yet? Register Now!

Sign in to your account