tharenfrdeiditjakomsruvi

สนามกีฬาพระราเมศวร

ความเป็นมา แหล่งที่ตั้ง • แผนที่ • เวลาทำการ • ค่าบริการ 

สมัครสมาชิก • ขออนุญาตใช้สนามกีฬา  ติดต่อ • ภาพกิจกรรม 

สนามกีฬา

 สนามกีฬา1  สนามกีฬา2

 

 

ประวัติความเป็นมา

            สนามกีฬาจังหวัดลพบุรี(สนามกีฬาพระราเมศวร) ถูกถ่ายโอนภารกิจให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี โดยพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ตามกำหนดแผนขั้นตอนการกระจายอำนาจ (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2545 ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากการกีฬาแห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

            สนามกีฬาพระราเมศวรเป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์ประจำจังหวัดลพบุรี สนามกีฬาระดับมาตรฐานแห่งหนึ่งที่ใช้ในการจัดแข่งขันกีฬาในระดับชุมชน จังหวัดหรือระดับภูมิภาคและยังเป็นสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจและการออกกำลังกายของประชาชนชาวลพบุรี

แหล่งที่ตั้ง

            สนามกีฬาพระราเมศวรตั้งอยู่บน ถนนนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ใกล้กับศาลากลางจังหวัดลพบุรี ภายในมีสนามต่าง ๆ ที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาหลากหลายประเภท เช่น กรีฑา ฟุตบอล ฟุตซอล ว่ายน้ำ แบดมินตัน บาสเกตบอล เทนนิส เทเบิลเทนนิส เปตอง

      มีหน่วยงานราชการอยู่ภายใน 2 หน่วยงาน ได้แก่ 1.สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดลพบุรี 2.สำนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดลพบุรี   

แผนที่

 

แผนที่สนามกีฬาคำอธิบาย 01

ดาวน์โหลดไฟล์แผนที่ https://bit.ly/3ILmGxh

เวลาทำการ

            ปัจจุบัน สนามกีฬาพระราเมศวร อยู่ในความรับผิดชอบและการกำกับดูแลของ กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี ได้เปิดทำการตั้งแต่เวลา 05.00-20.00 น.เป็นประจำทุกๆวัน ให้ประชาชนชาวลพบุรีได้เข้ามาออกกำลังกายเดินวิ่งในสนามลู่วิ่งที่ทันสมัย เครื่องออกำลังกายกลางแจ้งที่มีมากมายเพียงพอสำหรับทุกท่านและพักผ่อนหย่อนใจกับบรรยากาศร่มรื่นจากสวนสุขภาพและต้นไม้ตามธรรมชาติ

             ทั้งนี้ช่วงเวลา 09.00-20.00น. ระหว่างวันจันทร์ถึงวันเสาร์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรีได้สรรหากิจกรรมต่างๆและเปิดให้บริการอุปกรณ์ที่ทันสมัยมากที่สุดแห่งหนึ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (จัดเก็บค่าบริการเพิ่มเติ่ม) อาทิเช่น อาคารโรงยิมกาฬวรรณดิสภายในมีสนามแบดมินตัน จำนวน 8 คอร์ด ห้องเทเบิลเทนนิส ห้องบริหารกล้ามเนื้อ 2 ห้อง และห้องฟิตเนส 2 ห้อง สระว่ายน้ำจามเทวี สระมาตรฐานขนาด 50 เมตร โรงยิมพิสุทธิธรรมธาดาสหรับจัดกิจกรรมจัดการแข่งขันกีฬาวอลเล่ย์บอล บาสเกตบอล ฟุตบอล 7 คน ฟุตซอล เป็นต้น

เวลาทำการ
เปิดทุกวัน เวลา
 ประตูสนามกีฬา  05.00 ถึง 20.00
   
จันทร์-เสาร์ รอบเช้า   รอบเย็น
 สระว่ายน้ำจามเทวี ปิดให้บริการ ปิดให้บริการ
ห้องบริหารกล้ามเนื้อ  09.00-12.00 15.00-19.00
ห้องฟิตเนส 09.00-12.00 15.00-19.00
แบดมินตัน 09.00-12.00 15.00-19.00
เทเบิลเทนนิส 09.00-12.00 15.00-19.00
   
สนามเทนนิส   จันทร์-เสาร์ เวลา 07.00-20.00 น.
สนามฟุตซอล (ในร่ม)  ทุกวัน เวลา 07.00-20.00 น.
สนามฟุตซอล (ดาดฟ้าอาคารจอดรถ)  จันทร์-เสาร์ เวลา 16.00-20.00 น.
สนามฟุตบอลหญ้าเทียม   จันทร์-เสาร์ เวลา 16.00-20.00 น.
ห้องสมุด อบจ.ลพบุรี จันทร์-เสาร์ เวลา 09.00-16.00 น.

หมายเหตุ : เวลาอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมของกิจกรรมในวันนั้น ๆ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์

                  สระว่ายน้ำปิดให้บริการ เนื่องจากอยู่ระหว่างกระบวนการรื้อถอนสร้างอาคารสระว่ายน้ำหลังใหม่

 

ค่าบริการ
ค่าใช้บริการ (บาท/ครั้ง)  บุคคลทั่วไป สมาชิก
อายุต่ำกว่า
18 ปี
 อายุ 18
ปีขึ้นไป
อายุต่ำกว่า
18 ปี
อายุ
18-60 ปี
อายุเกิน
60 ปี
ห้องบริหารกล้ามเนื้อ
และห้องฟิตเนส
20 30 10 20 ยกเว้น
แบดมินตัน 20 40 10 20
เทเบิลเทนนิส 20 30 10 20
เทนนิส 80 100 20 20
ว่ายน้ำ 20 40 10 20

 

การสมัครสมาชิกสนามกีฬาพระราเมศวร

                ผู้ประสงค์จะสมัครเป็นสมาชิกสนามกีฬาจังหวัดลพบุรี ให้ยื่นใบสมัครต่อเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี หรือ โรงยิมกาฬวรรณดิส ภายในสนามกีฬาพระราเมศวร ในวันและเวลาราชการพร้อมเอกสารหลักฐาน และชำระค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 เตรียมเอกสาร-กรอกใบสมัคร
◊ รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1 นิ้ว ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป
◊ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวข้าราชการ บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบัตรประจำตัวอื่นซึ่งปรากฏภาพถ่ายของบุคคลที่ทางราชการออกให้ จานวน 1 ฉบับ
◊ อัตราค่าธรรมเนียมรายปี
            » ประชาชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ค่าธรรมเนียม ปีละ 100 บาท
            » ประชาชนที่อายุ 18 - 60 ปี ค่าธรรมเนียม ปีละ 300 บาท
            » ประชาชนที่อายุเกิน 60 ปี ไม่มีค่าธรรมเนียม

ขั้นตอนที่ 2 การออกบัตรสมาชิก
            องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรีจะออกบัตรประจำตัวสมาชิกให้แก่ผู้สมัครที่ได้รับอนุมัติ (2 วันทำการ)

ขั้นตอนที่ 3 เข้าใช้บริการสนามกีฬา
            ผู้ถือบัตรสมาชิกสนามกีฬาจังหวัดลพบุรี มีสิทธิเข้าใช้บริการสนามกีฬาได้ทุกประเภทโดยต้องชำระค่าใช้บริการตามอัตราที่กำหนด บัตรสมาชิกมีอายุ 1 ปี นับแต่วันออกบัตร เมื่อบัตรสมาชิกหมดอายุลง หากประสงค์จะเป็นสมาชิกสนามกีฬาจังหวัดลพบุรีต่อไป ให้ยื่นคำขอต่ออายุบัตรตามแบบฟอร์มที่กำหนดต่อเจ้าหน้าที่ภายใน 15 วัน นับแต่วันหมดอายุ โดยนำบัตรที่หมดอายุมาใช้เป็นหลักฐานในการต่ออายุบัตร ตามหลักเกณฑ์ดังนี้

◊ ค่าธรรมเนียมทำบัตร
            » การทำบัตรใหม่ ค่าธรรมเนียม 30 บาท
            » ออกบัตรแทน กรณีบัตรหายหรือชำรุด ค่าธรรมเนียม 30 บาท
            » ต่ออายุบัตร ไม่มีค่าธรรมเนียม
บริการขออนุญาตใช้สนามกีฬา

      ผู้ใดประสงค์จะใช้สนามกีฬาจังหวัดลพบุรี เพื่อจัดกิจกรรมใด ให้ยื่นคำขอเป็นหนังสือต่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี ล่วงหน้าก่อนถึงวันจัดกิจกรรมไม่น้อยกว่า 15 วัน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวอื่นซึ่งปรากฏภาพภ่ายของบุคคลที่ทางราชการออกให้ และผู้ขออนุญาตใช้สนามกีฬาจะต้องชำระอัตราค่าธรรมเนียมการจัดกิจกรรมและอื่นๆ ซึ่งมีรายละเอียดตาม ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี เรื่อง การบริหารจัดการและการจัดเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ใช้สนามกีฬาจังหวัดลพบุรี พ.ศ.2561 (คลิกเปิดลิ้งค์) 

       หากผู้ขอใช้บริการสนามกีฬาได้ก่อให้เกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากการจัดกิจกรรมจะต้องรับผิดชอบซ่อมแซมให้มีสภาพดีดังเดิม หรือชดใช้ค่าเสียหายตามกฎหมายให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี ภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งเป็นหนังสือ กรณีที่มีการเรียกเก็บเงินประกันความเสียหายไว้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรีจะหักส่วนความเสียหายจากเงินประกันนั้น และคืนส่วนที่เหลือ หรือคืนให้เต็มจำนวน แล้วแต่กรณี

ยื่นเอกสารได้สองช่องทาง
ยื่นคำขอด้วยตนเอง - กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้น ๒  หรือ
ยื่นคำขอผ่านระบบออนไลน์ - E-Service บริการขอใช้สนามกีฬาพระราเมศวร

  ☎ ติดต่อสอบถาม ☎
กองการศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
0-3641-1404 ต่อ 108
สระว่ายน้ำจามเทวี 0-3641-2844
โรงยิมกาฬวรรณดิส 0-3662-0705 หรือ 0-3641-1404 ต่อ 124
Facebook  สนามกีฬาพระราเมศวร

 

กิจกรรมภายในสนามกีฬาพระราเมศวร

 กิจกรรมภายในสนามกีฬาพระราเมศวรสามารถติดตามได้ใน >>> Facebook สนามกีฬาพระราเมศวร 

กลับสู่ด้านบน


 

banner traditional 01
หมู่บ้าน/ชุมชนวัฒนธรรม 
   - หมู่บ้านวัฒนธรรมสร้างสรรค์ไทยพวนตำบลบ้านทราย อำเภอบ้านหมี่  จังหวัดลพบุรี เป็นชุมชนวัฒนธรรมไทยพวน ตำบลบ้านทราย เป็นชุมชนที่มีชาวไทยพวนอาศัยอยู่ สืบเชื้อสายมาจากชาวพวนเมือง เชียงขวาง ประเทศลาวอพยพมาอยู่ที่ตำบลบ้านทราย เมื่อปี พ.ศ.2399 ปัจจุบันชุมชนไทยพวนตำบลบ้านทราย ได้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงสิ่งของ เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมของไทยพวน อาทิเครื่องปั้นดินเผา ใช้ในครัวเรือนการจำลองกวงเฮือน (ห้องนอน) การทำผ้าทอมัดหมี่ เรือโบราณ นางกวัก ตู้จัดแสดงเครื่องแต่งกายนอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงวัตถุสิ่งของ เครื่องใช้ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ประชากรของไทยพวนบ้านทราย ยังมีการสืบทอดประเพณีที่ดั้งเดิมไว้ ได้แก่ ประเพณีเส่อกระจาด หลังเทศกาลออกพรรษา (ช่วงเดือนพฤศจิกายน) ซึ่งจัดก่อนวันเทศน์มหาชาติร่วมกันในวันรุ่งขึ้น ตามที่เชื่อกันว่าการได้ฟังเทศน์มหาชาติ  จบทั้ง 13 กัณฑ์ ในวันเดียวจะทำให้ได้บุญกุศลมาก ประเพณีกำฟ้า ตรงกับวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 (ประมาณเดือนกุมภาพันธ์) ซึ่งเป็นประเพณีเกี่ยวกับวิถีชีวิตของไทยพวนในด้านเกษตรกรรม เพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลจะมีการทำบุญข้าวจี่  ข้าวหลาม  ช่วงเย็นจะมีการละเล่น อาทิ การละเล่นนางกวัก การร้องหมอลำพวน การรำวง การเตะหม่าเบี้ย เป็นต้น ในวันนี้จะเป็นวันหยุดงานของชาวไทยพวน
   - ชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไทยเบิ้งบ้านโคกสลุง ตำบลโคกสลุง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ตำบลโคกสลุงเป็นชุมชนเก่าแก่มีข้อสันนิษฐานจากหลักฐานซากหินทรายและหินศิลาแลงจำนวนมากในบริเวณวัดโคกสำราญ และการศึกษาวิจัยสืบค้นจากวัฒนธรรม ของมหาวิทยาลัยมหิดล และกลุ่มนักวิชาการอื่นๆ อีกหลายสถาบัน พบว่า ผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้น่าจะมีการรวมกันสร้างที่อยู่อาศัยในบริเวณชุมชนแห่งนี้ ไม่ต่ำกว่า 260 ปี ชาวไทยเบิ้ง โคกสลุง มีวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ตลอดจนการดำรงชีวิตที่เรียกว่าเป็นกลุ่ม “วัฒนธรรมไทยเบิ้ง” พูดภาษาถิ่นสำเนียงคล้ายภาษาไทยภาคกลางออกเสียงเหน่อ แต่ไม่เท่าสำเนียงสุพรรณบุรี สิ่งที่เป็นอัตลักษณ์เด่นชัดบอกความเป็นไทยเบิ้งโคกสลุง 3 ประการ ได้แก่ 1) การแต่งกายและของใช้ที่จำเป็น 2) สำเนียงการพูดออกเสียงเหน่อ 3) นามสกุล จะขึ้นต้นลงท้ายด้วย “สลุง”
   - ชุมชนวัฒนธรรมไทยรามัญบ้านบางขันหมาก ตำบลบางขันหมาก อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ชุมชนมอญบางขันหมาก (ไทยรามัญ) ตั้งอยู่ห่างจากเมืองลพบุรีไปทางทิศตะวันตกเพียง 2-3 กิโลเมตร มีวัดสำคัญ ในหมู่บ้านสี่วัด คือ วัดอัมพวัน วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม(วัดทุ่ง)วัดกลาง และวัดโพธิ์ระหัต ตามประวัติศาสตร์กล่าว คนมอญ เริ่มอพยพเข้าสู่ประเทศไทยหลายคราวด้วยกัน นับตั้งแต่สมัยพระมหาธรรมราชา พ.ศ. 2112-2133 เป็นต้นมา สำหรับชาวมอญ ที่อพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ในจังหวัดลพบุรีนั้น น่าจะเป็นมอญที่อพยพมาจากชุมชนชาวมอญอื่นอีกทอดหนึ่งเชื่อว่าน่าจะอพยพมาทางใต้ คือ บ้านบางระกำ และทิศตะวันตก คือ บ้านโพธิ์ข้าวผอก ตำบลบางมัญ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี การแต่งกายของชาวมอญบางขันหมาก ชุมชนชาวมอญที่ตำบลบางขันหมากตั้งแต่รุ่นเล็กถึงรุ่นใหญ่ ยังคงแต่งกายแบบวิถีชีวิตชาวมอญดั้งเดิมที่ต้องคล้องสไบที่เรียกว่า “หยาดโด๊ด”ประกอบพิธีกรรมที่วัดของชาวมอญ สามารถใช้ได้ทั้งชายหญิง 
   

                                                               

        ประเพณีและงานประจำปี

 

KingNarai2016 5 

  - งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ 
ชาวลพบุรีเรียกงานนี้ว่า “งานในวัง” ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหารายได้นำไปก่อสร้างอนุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม โดยจะจัดในเดือนกุมภาพันธ์เพราะเป็นเดือนพระราชสมภพของสมเด็จพระนารายฺณ์มหาราช ในการจัดงานได้มีการถอดรูปแบบและจำลองเหตุการณ์ในครั้งประวัติศาสตร์ มีขบวนแห่ของชาติต่าง ๆ ที่เข้ามาเจริญพระราชไมตรีและเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร มีการแต่งโคลง ฉันท์  กาพย์ กลอน และคำประพันธ์ต่าง ๆ มีร้านจำหน่ายและสาธิตสินค้า ตลอดจนขนมหวานในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการจุดประทีปโคมไฟเหมือนราตรีแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในอดีต  และส่งเสริมให้ชาวลพบุรีแต่งกายไทยทั้งเมือง

   

  - งานประเพณีกำฟ้า
เป็นงานบุญพื้นบ้านของชาวไทยพวน ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง และอำเภอบ้านหมี่ จัดขึ้นเพื่อขอพรจากเทพยดาผู้รักษาฟากฟ้า และบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลมักจะถือเอาวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันสุกดิบ และวันรุ่งขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันกำฟ้า  โดยชาวบ้านจะร่วมกันทำบุญใส่บาตรด้วยข้าวหลามและข้าวจี่  ตกบ่ายมีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น มอญซ่อนผ้า ช่วงชัย หม่าเบี้ย และหมากันห่าน

   งานประเพณีแห่พระศรีอาริยเมตไตรย์ วัดไลย์ ประจำปี 2560 - งานประจำปี,ประเพณี  ประจำจังหวัด,77 จังหวัด

   - งานประเพณีชักพระศรีอาริยเมตไตรย์  
เป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมาช้านาน หรือเรียกอีกอย่างว่าประเพณีแห่พระศรีอาริย์เมตไตรย์ ซึ่งจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง  คือ  ในวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี หลวงพ่อจะประดิษฐานบนแท่นตะเฆ่ แล้วให้ประชาชนร่วมกันชักพระไปตามทางหลวง 3028 ท่าโขลง – บ้านหมี่ เริ่มจากวัดไลย์ไปสิ้นสุดที่โรงเรียนวัดท้องคุ้ง ซึ่งตลอดทางจะมีโรงทานสำหรับเลี้ยงอาหารหวาน – คาว บริการประชาชน และวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ไปตามถนนสายเลียบแม่น้ำบางขาม เริ่มจากวัดไลย์ ไปสิ้นสุดที่โรงเรียนวัดเทพอำไพ

   อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน

  - งานเทศกาลกระท้อนหวานของดีเมืองลพบุรี
โดยจะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงที่กระท้อนให้ผลิตผลได้เต็มที่เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกระท้อน และยังเป็นการผลักดันกระท้อนหวานให้เป็นที่รู้จักของตลาดทั้งในและต่างประเทศอีกทางหนึ่ง กิจกรรมที่น่าสนใจภายในงาน เช่น การประกวดผลิตภัณฑ์กระท้อน การประกวดธิดากระท้อนหวานและกระท้อนห่อ การจำหน่ายสินค้าด้านการเกษตร ต้นไม้ สินค้า OTOP และการแสดงของนักเรียน นักศึกษาทุกคืน

   - งานเทศกาลท่องเที่ยวทุ่งทานตะวันบาน
จังหวัดลพบุรีมีการปลูกทานตะวันมากที่สุดในประเทศไทย คือ ประมาณ 200,000–300,000 ไร่ ดอกทานตะวันจะบานสะพรั่งในช่วงเดือนพฤศจิกายน – มกราคม ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสกับความงดงามของธรรมชาติในทุ่งทานตะวันเหลืองอร่ามนับหมื่นไร่

   - งานเลี้ยงโต๊ะจีนลิง
เริ่มมีขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2532 สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดลพบุรีจนโด่งดังไปทั่วโลก และถูกจัดเข้าปฏิทินงานประจำปีของจังหวัด จัดขึ้นในวันอาทิตย์  สัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายน ณ บริเวณศาลพระกาฬและพระปรางค์สามยอดมีฝูงลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นที่สนใจสำหรับนักท่องเที่ยวในงานมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น  การเลี้ยงอาหารที่ตกแต่งอย่างสวยงามแก่ลิง การแสดงพื้นบ้าน

ใส่กระจาด

   - งานประเพณีใส่กระจาด
ภาษาพวน เรียกว่า “เส่อกระจาด” เป็นประเพณีของชาวไทยพวนซึ่งถือปฏิบัติกันในเขตอำเภอบ้านหมี่ มักจัดให้มีขึ้นในงานบุญเทศน์มหาชาติ ส่วนมากจะกำหนดในช่วงเทศกาลออกพรรษา (เดือน 11) ข้างแรมก่อนถึงวันใส่กระจาด 1 วัน ชาวบ้านจะช่วยกันทำขนมห่อข้าวต้ม ตำข้าวปุ้น รุ่งขึ้นจะเป็นวัน ใส่กระจาด ชาวบ้านจะนำของ เช่น กล้วย อ้อย ส้ม รูปเทียน หรืออื่น ๆ มาใส่กระจาดตามบ้านของคนรู้จัก เจ้าของบ้านจะนำอาหารที่เตรียมไว้มาเลี้ยงรับรองแขกเมื่อแขกกลับ เจ้าของบ้านจะนำข้าวต้มมัดฝากไปให้ เรียกว่า  “คืนกระจาด” ในวันรุ่งขึ้นเป็นวันเทศน์มหาชาติ จะนำของที่แขกมาใส่กระจาด ทำเป็นกัณฑ์  แล้วนำไปถวายพระที่วัด โดยถือว่าการทำบุญเทศมหาชาตินี้เป็นการทำบุญครั้งยิ่งใหญ่ประจำปี

          จังหวัดลพบุรีมีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลายทั้งด้านเชิงประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตชุมชน จากการสำรวจจำนวนผู้เยี่ยมเยือนที่เข้าชมพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์และพระปรางค์สามยอด บ้านวิชาเยนทร์ พบว่ามีจำนวนผู้มาเยี่ยมเยือนลดลง ผู้เยี่ยมเยือนนิยมมาเที่ยวในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งเป็นฤดูหนาว โดยนักท่องเที่ยวที่แวะเที่ยวก่อนที่จะเดินทางไปพักยังจังหวัดอื่นต่อหรือแบบเดินทางไปเช้า-เย็นกลับ หรือเรียกว่า “นักทัศนาจร”

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

จังหวัดลพบุรี มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย เนื่องจากเป็นดินแดนประวัติศาสตร์อันยาวนาน นับแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จากหลักฐานบันทึกของชาวฝรั่งเศสต้นกรุงรัตนโกสินทร์มีกลุ่มชาติพันธ์ต่าง ๆ  เริ่มอพยพเข้าสู่จังหวัดลพบุรี เนื่องจากภาวะสงคราม การกวาดต้อนผู้คนมาเป็นเชลยหรืออพยพย้ายถิ่นฐานของคนอีสาน เพื่อเป็นแรงงานในการก่อสร้างเมือง ทำให้จังหวัดลพบุรี มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ อย่างน้อยมี 5 กลุ่มชาติพันธุ์ ที่อาศัยอยู่ ได้แก่ กลุ่มคนไทยภาคกลางพื้นถิ่น  กลุ่มไทยเบิ้ง  กลุ่มมอญ (ไทยรามัญ)  กลุ่มลาวพวน หรือ ไทยพวน และกลุ่มจีน   

กลุ่มไทยเบิ้ง เป็นชุมชนที่อยู่อาศัยมาสมัยกรุงศรีอยุธยา ราวพุทธศตวรรษที่ 22-23 อพยพมาจากเมืองเวียงจันท์ประเทศลาวอาศัยบริเวณลุ่มน้ำป่าสัก มีชุมชนใหญ่อยู่ที่บ้านมะนาวหวาน บ้านโคกสลุง อำเภอพัฒนานิคม และบ้านชัยบาดาล อำเภอชัยบาดาล อ.โคกสำโรง อ.สระโบสถ์
กลุ่มแง้ว มีถิ่นฐานอยู่ที่เวียงจันทร์และหลวงพระบาง ได้อพยพมา เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่ลพบุรี ตำบลพุคา อำเภอบ้านหมี่ ตำบลโคกลำพาน อำเภอเมืองลพบุรี 
กลุ่มมอญ (ไทยรามัญ) มีการอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณสองฝั่งริมแม่น้ำลพบุรี สันนิษฐานว่าเป็นเป็นชาวมอญจากเมืองมอญ อพยพตามสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเข้ามา หลักประกาศเอกราช ณ เมืองแครง 
กลุ่มลาวพวน หรือ ไทยพวน กลุ่มนี้เคยมีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่ประเทศลาว เมืองเชียงขวาง ได้อพยพมาหลายครั้ง ตั้งถิ่นฐานในเขตภาคกลางของไทยมานานนับแต่กรุงศรีอยุธยา จะอาศัยอยู่มากที่อำเภอบ้านหมี่ และอำเภอเมืองลพบุรี
กลุ่มจีน เป็นกลุ่มที่เข้ามาอาศัยมานาน ชอบค้าขายกระจายอยู่ตามอำเภอต่างๆของจังหวัดลพบุรี แต่กลุ่มที่ทำการศึกษา คือ กลุ่มจีน ที่ตำบลหนองเต่าเป็นชุมชนจีนเก่าแก่ ซึ่งยังคงรักษาวัฒนธรรมไว้เป็นอย่างดี

กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดลพบุรี มีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรมและประเพณี รวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งคงรักษาอัตลักษณ์วัฒนธรรม ได้แก่ ภาษา การแต่งกาย และขนบธรรมเนียมประเพณี ไว้อย่างเข้มแข็ง ดังนั้นจังหวัดลพบุรีจึงมีความพร้อมของทุนทางสังคมที่จะนำไปพัฒนาต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ต่อไป

ColorLoppao

 

คำอธิบาย ความหมาย ตราเครื่องหมายองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี

↓↓ คลิกเลือกที่ด้านล่าง ↓↓

ภาพสีความละเอียดสูง | ภาพลายเส้นความละเอียดสูง

banner old town 01
โครงการจัดทำแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าลพบุรี   
 01front
             ลพบุรีเป็นชุมชนเมืองเก่แก่ที่มีการตั้งถิ่นฐานมานานกว่าพันปี ด้วยความเป็นมาอันยาวนานเมืองเก่าลพรีจึงเป็นแหล่งรวมสินทรัพย์ทางวัฒนรรมจากหลายยุคหลายสมัย ภายในเขตเมืองเก่าลพบุรี มีโบราณสถานและสิ่งก่อสร้างอันทรงคุณมากมาย ทั้งยังอุดมไปด้วยศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาที่หลากหลาย ปัจจุบันเมืองเก่าลพบุรีกำลังเสื่อมลง การพัฒนาสมัยใหม่แบบไร้ทิศทางทำให้คุณค่าเมืองเก่าถดถอยลง เมื่อป็นช่นนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการดำเนินการเพื่ออนุรักษ์และคืนสภาพเมืองเก่าอย่างจริงจัง การอนุรักษ์เมืองเก่าจำเป็นที่จะต้องตอบโจทย์การอนุรักษ์และโจทย์ทางเศรษฐกิจสังคมไปพร้อมๆ กัน กล่าวคือต้องมีการผสานระหว่างกิจกรรมการอนุรักษ์และกิจกรรมการฟื้นฟูพัฒนาอย่างสมดุล
             จังหวัดลพบุรีร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดทำแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่บริเวณมืองเก่าลพบุรี เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์และฟื้นฟูเมืองตามแนวทางที่กล่าวถึงข้างตันเนื้อหาของแผนแม่บทและผังแม่บท บรรจุอยู่ในรายงานฉบับสมบูรณ์เล่มนี้ 

ดาวน์โหลดเอกสาร รายงานฉบับสมบูรณ์ (Fianl Report) ที่นี่

 

 
วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี

“ชุมชนเข้มแข็ง สังคมคุณภาพ สู่เมืองอัจฉริยะ”

พันธกิจ

   1. การสังคมสงเคราะห์พัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา ผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากไร้ และผู้พิการ

   2. ส่งเสริมการออกกำลังกาย กีฬา และนันทนาการ แก่ประชาชนทุกช่วงวัย

   3. ส่งเสริมการจัดการศึกษา ศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น

   4. ส่งเสริมและพัฒนาระบบสาธารณสุข

   5. ส่งเสริมการประกอบอาชีพ เศรษฐกิจฐานราก การเกษตรและการท่องเที่ยว

   6. ส่งเสริมระบบคมนาคมขนส่ง สาธารณูปโภค สาธารณูปการที่ได้มาตรฐาน และทั่วถึง

   7. เสริมสร้างความสงบเรียบร้อย การป้องกันบรรเทาสาธารณภัย และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

   8. พัฒนาเทคโนโลยี และระบบสารสนเทศให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

   9. การจัดการทรัพย์กรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และพัฒนาพลังงานทดแทน

  10. บริหารจัดการภาครัฐ ให้มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ และให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

  ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 1 พัฒนาคุณภาพชีวิต สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม

  ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 2 พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งและการเกษตร

  ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 3  บริหารจัดการท่องเที่ยววิถีใหม่ (New Normal) และอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น

  ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 4 พัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management)

 
Don't have an account yet? Register Now!

Sign in to your account